บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ โรคสมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk) และ โรคสมองหลอนแผ่นดินไหว (Earth quake illusion) กันนะคะ ต้องบอกเลยนะคะว่าหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจบไปแล้วนั้น นอกจาก สิ่งก่อสร้างเสียหาย แต่ยังมีอาการตอบสนองต่อร่างกายของหลายๆคน ที่ยังไม่จบและเป็นอาการต่อเนื่องด้วยนะคะ คือหลายๆคน ยังรู้สึก หวั่นๆ โยกๆ อยู่นิดนึง ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้ ที่ญี่ปุ่นจะรู้กันดีค่ะเพราะเกิดแผ่นดินไหวบ่อยนั่นเองค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น พร้อมแล้วตามมาดูกันเลยค่ะ

 

 

มารู้จัก โรคสมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk) และ โรคสมองหลอนแผ่นดินไหว (Earth quake illusion)

 

 

อาการที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกาย จิตใจหลัง แผ่นดินไหว

 

  1. สมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk) กลุ่มอาการวิงเวียนหลังแผ่นดินไหว หรือ Post-Earthquake Dizziness Syndrome หรือ PEDS)

ผู้คนมักอธิบายว่ารู้สึกเหมือนยังคงเคลื่อนไหวอยู่ คล้ายกับความโคลงเคลงที่รู้สึกหลังจากลงจากเรือ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “อาการป่วยจากแผ่นดินไหว” หรือ “จิชิน-โยอิ” (แปลตรงตัวว่า “เมาแผ่นดินไหว” ในภาษาญี่ปุ่น) การศึกษาชี้ว่าอาการนี้อาจเกิดจากการรบกวนในระบบการทรงตัว (vestibular system) ซึ่งเป็นส่วนของหูชั้นในที่ควบคุมความสมดุล การเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดจากแผ่นดินไหว สามารถทำให้ระบบนี้เสียสมดุล ส่งผลให้สมองพยายามปรับความรู้สึกให้กลับมาปกติอย่างยากลำบาก บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือรู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วย และอาการนี้อาจรุนแรงขึ้นในคนที่ไวต่อการเมารถอยู่แล้ว หรือในคนที่อยู่ในอาคารสูงระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งการสั่นไหวจะรู้สึกชัดเจนกว่านั่นเองค่ะ

 

 

ระยะเวลาของอาการทางร่างกายเหล่านี้แตกต่างกันไป ในหลายคน อาการวิงเวียนจะค่อย ๆ หายไปภายในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง เมื่อร่างกายปรับตัวได้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยหลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เช่น แผ่นดินไหวโทโฮกุในญี่ปุ่นปี 2011 (ขนาด 9.0) หรือแผ่นดินไหวคุมาโมโตะในปี 2016 พบว่าบางคนมีปัญหาการทรงตัวนานถึงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็มีนะคะ

 

 

  1. อาการ “สมองหลอนแผ่นดินไหว“ หรือ “แผ่นดินไหวทิพย์” “earthquake illusion”

ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางจิตใจ ที่ยังคงรู้สึกเหมือนมีแรงสั่นสะเทือน ทั้งที่มันไม่ได้เกิดขึ้นจริง อาจเป็นเพราะความตื่นตัวที่สูงขึ้น หรือความทรงจำจากเหตุการณ์อาการทางจิตสั่นไหว แผ่นดินไหวสามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียดเฉียบพลัน เช่น ความวิตกกังวล ความกลัว แพนิก บางคนนำไปสู่โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (PTSD) ซึ่งมีอาการเช่น การย้อนนึกถึงเหตุการณ์ ความตื่นตัวเกินเหตุ หรือการนอนหลับยาก กลัวการอยู่ในตึก หรือ ขึ้นรถไฟฟ้าไปเลยก็มีค่ะ

 

 

สาเหตุของอาการเหล่านี้ซับซ้อน น่าจะเป็น สมองพยายามประมวลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่ขัดแย้งกัน เช่น ตาบอกว่าพื้นดินนิ่ง แต่ระบบการทรงตัวบอกว่าเคลื่อนไหว จนเกิดการพุ่งขึ้นของคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ระหว่างและหลังเหตุการณ์สามารถเพิ่มความไวต่อความรู้สึกในร่างกาย ทำให้อาการวิงเวียน หรือคลื่นไส้รู้สึกหนักขึ้น คนที่เป็นภาวะนี้มากได้แก่ คนมีโรควิตกกังวล หรือประวัติปวดไมเกรน

 

แนวทางการรักษา

ยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะสำหรับอาการหลังแผ่นดินไหว แต่สามารถใช้วิธีจากอาการเมารถและการจัดการความเครียดได้

  • การมองไปที่จุดไกล ๆ (เช่น เส้นขอบฟ้า)
  • การนอนลง หรือการจิบน้ำอาจช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนในระยะสั้นได้
  • สำหรับผลกระทบทางจิตใจ การพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์กับผู้อื่น จะช่วยระบาย หรือหลีกเลี่ยงการดูสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์มากเกินไป
  • ทานยาแก้เวียนได้ 2-3 วัน หากใจสั่นจิตตก
  • ทำสมาธิ ไม่ดูข่าวมาก หากมียาช่วยนอน ทานได้
  • ปรึกษาแพทย์ หากเป็นมากจนแพนิก