ในยุคปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าโลกของโซเชียลมีเดียนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากเลยนะคะ แค่มีมือถือซักเครื่อง และสัญญาณอินเตอร์เน็ต ก็สามารถเจ้าถึงโลกโซเชียลได้แล้วค่ะ และในยุคนี้ที่คนหันมาทำธุรกรรมผ่านออนไลน์กันเยอะขึ้นมาก เช่น สมัครลงทะเบียน ซื้อสินค้า ชำระเงินสินค้า เป็นต้นนะคะ รู้หรือไม่คะว่าก็มีอันตรายที่แฝงมาอยู่กับการทำธุรกรรมดังกล่าวด้วยนะคะ โดยเฉพาะเรื่องของ การหลอกล่อลวงเงินซึ่งมีหลายคนตกเป็นเหยื่อกันเยอะมากในช่วงที่ผ่านมาเลยนะคะ กลโกงต่างๆ และความแนบเนียนของกลุ่มมิฉาชีพที่มีการพัฒนาขึ้นทุกวเนตชอดเวลาเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะฉะนั้น พวกเราก็ต้องอัปเกรดความรู้ ความระมัดระวังตัวเอง ด้วยการรู้เท่าทันภัยไซเบอร์การเงินเหล่านี้ด้วยเช่นกันค่ะ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพเหล่านั้นกันนะคะ
ดังนั้นบทความนี้จะมาเปิดกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพรูปแบบใหม่ล่าสุดกันค่ะ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโจรกรรมทางการเงินนะคะ ต่อไปเรามาดูวิธีการหลอกล่อเหยื่อของพวกมิจฉาชีพกันค่ะ ว่ามีวิธีการ หรือรูปแบบไหนกันบ้าง
5 กลโกงภัยการเงินรูปแบบใหม่
1. วิธีการล่อด้วยของรางวัลที่น่าสนใจ และส่ง URL หลอกให้คลิกลิงก์
โดยแก๊งมิจฉาชีพเหล่านั้น จะเริ่มจากหลอกล่อด้วยของรางวัล และทำการส่งข้อความให้กับเหยื่อไม่ว่าจะทาง ข้อความ SMS Line หรือ E-mail โดยจะทำการปลอม Sender หรือชื่อผู้ส่งข้อความอย่างเนียบเนียน เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ และคลิกเข้าไปยังลิงก์ที่มิจฉาชีพส่งมา ซึ่งการหลอกให้คลิกลิงก์ต่างๆนั้น ก็สามารถหลอกดูดเงินได้อีกหลายทางเลยนะคะ ยกตัวอย่างเช่น คลิกเข้าไปแล้วให้เราเพิ่มเพื่อน และคุยหลอกล่อให้โอนเงิน หรือหลอกให้เราติดตั้งแอปที่ไม่มีอยู่ใน Google Play หรือ App Store เพื่อหลอกดูดเงินนั่นเองค่ะ
2. วิธีการหลอกผูกบัญชี กับเบอร์โทรศัพท์
โดยแก๊งมิจฉาชีพ จะทำการโทรมาหาเหยื่อ และทำการอ้างสารพัดเหตุผลต่างๆนานาเลยนะคะ ยกตัวอย่างเช่น บอกว่าเหยื่อมีติดหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายภาษี มีพัสดุค้างจัดส่ง หรือสั่งซื้อสินค้า เป็นต้นนั่นเองค่ะ โดยจะหลอกล่อถามเหยื่อ ว่าบัญชีธนาคารของเไยท่อได้ทำการผูกติดกับเบอร์โทรศัพท์ หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่ ซึ่งพอได้ข้อมูลมาแล้ว เหล่าแก๊งมิจฉาชีพ ก็จะทำการเอาไปผูกกับบัญชีที่เปิดใหม่เปิดบัญชีแบบออนไลน์ และผูกกับข้อมูลของเหยื่อที่ให้ไว้ หากผู้เป็นเหยื่อกด “ยอมรับ” จากข้อความที่แจ้งเตือนขึ้นมาในโทรศัพท์ มิจฉาชีพก็จะดูดเงินออกไปจนเกลี้ยงบัญชีได้เลยค่ะ
3. วิธีการซื้อโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างเป็นแบรนด์ดัง
กลโกงอีกรูปแบบที่น่ากลัวก็คือ มิจฉาชีพจะทำการแฝงตัวมาบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram, Google เป็นต้นนะคะ โดยจะแอบอ้างเป็นแบรนด์ดังที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน และทำการซื้อโฆษณาเพื่อเชื่อมโยงไปเว็บไซต์ปลอมที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเอาข้อมูล หรือสามารถสวมรอยเพื่อดูดเงินในบัญชีได้นั่นเองค่ะ
4. วิธีการแฮกแอ็กเคานต์โซเชียลมีเดีย
มุกคลาสสิกที่ถูกอัปเกรดการหลอกลวงเพิ่มเข้าไป จากตอนแรกอาจจะแค่สวมรอยเป็นตัวเหยื่อ แล้วทักไปหาคนใกล้ชิดเพื่อขอยืมเงิน และหลอกให้โอน แต่ตอนนี้มิจฉาชีพจะทำการแฮกบัญชีแต่ละแพลตฟอร์มของเหยื่อ และตั้งตัวเป็นแอดมิน ผู้ดูแลเพจเพื่อดูดเงินจากการจ่ายค่าโฆษณา โดยจะผูกกับบัญชี หรือบัตรเครดิตของเหยื่อเอง
5. วิธีการสวมรอย และหลอกเป็นเจ้าหน้าที่พนักงาน
จะเห็นได้ว่า กลโกงของแก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นทุกวันนะคะ โดยทริคการโกงของคนกลุ่มนี้ก็คือ จะอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่พนักงานโทรมาหาเหยื่อ และอาจอ้างว่าติดหนี้บัตรเครดิต หรืออาจบอกว่าเหยื่ออยู่ในเครือข่ายกระบวนการฟอกเงิน ทำสิ่งผิดกฎหมาย และจะต้องทำการสอบสวน ตรวจสอบข้อมูลโดยทำการเพิ่มเพื่อนจากเบอร์โทรของเหยื่อ จากนั้นก็จะทำการวิดีโอคอล โดยแก๊งมิจฉาชีพก็จะแต่งตัวให้สมจริงเพื่อหลอกให้เหยื่อตายใจ และอาศัยช่วงเวลาที่เหยื่อกำลังจะเชื่อ หลอกให้เหยื่อโอนเงินจนหมดตัวแบบไม่รู้ตัวกันเลยค่ะ
จะเห็นได้ว่ากลโกงของภัยทางการเงินสมัยนี้นั้น มีมาหลายรูปแบบเลยนะคะ และมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามสถานการณ์เลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้เท่าทันภัยการเงินจากแก๊งต้มตุ๋นเหล่านั้นนะคะ ควรหมั่นติดตาม และอัปเดตข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อโจรกรรมทางการเงินนั่นเองค่ะ และที่สำคัญไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เราต้องมีสติอยู่เสมอค่ะ