ประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว ทำให้อากาศเฉลี่ยในทุกวันนี้แทบไม่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ประกอบกับแดดที่ร้อนจัดจึงทำให้หลายคนเกิดอาการ Heat Stroke หรือลมแดด ได้ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้มากในฤดูร้อน วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับอาการของ Heat Stroke รวมถึงวิธีการป้องกันและบรรเทาอาการเพื่อที่จะได้สังเกตอาการรวมถึงป้องกันของตัวเองและคนรอบข้างเมื่อเกิดอาการ Heat Stroke ได้
อาการ
- อุณหภูมิร่างกายเกิน 40 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะ หน้ามืด อ่อนเพลีย จนอาจหมดสติ
- ไม่มีเหงื่อออก ผิวหนังและหน้าเป็นสีแดงเนื่องจากต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ
- อาจมีอาการ ชัก เพ้อ เดินเซ พูดจาสับสน
สาเหตุ
- อากาศที่ร้อนจัดโดยเฉพาะที่ร้อนชื้น
- ออกกำลังหนักเกินไป และออกกำลังในที่ที่มีอากาศร้อน
- การสวมเสื้อผ้าที่หนาเกินไป ทำให้ร่างกายระบายเหงื่อและความร้อนได้ยาก
- ภาวะขาดน้ำ หรือดื่มน้ำน้อย
กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง
- เด็ก และผู้สูงอายุ (อายุเกิน 65 ปี)
- บุคคลที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนัก เช่น นักกีฬา หรือทหารที่ต้องฝึกหนักท่ามกลางอากาศร้อน
- คนที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อน
- ผู้ที่ทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแก้แพ้ ยารักษาจิตเวช เป็นต้น
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน หรือผู้ที่เคยเป็นลมแดดมาก่อน
วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- นำผู้ป่วยเข้ามาอยู่ในที่ร่ม หรือให้พ้นจากที่มีแสงแดดจัด
- ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นหรือที่ทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้ยาก เช่น เสื้อคลุม
- ทำให้ร่างกายเย็น เช่น เช็ดตัวด้วยน้ำเย็น รดตัวด้วยน้ำเย็น โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ ขาหนีบ ข้อพับ หรือ
- เปิดพัดลมที่มีไอเย็น หรือแอร์
- ดื่มน้ำ และเกลือแร่ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และไม่ให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่
- รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
วิธีป้องกันลมแดด
- สวมเสื้อผ้าที่ถ่ายเทอากาศได้ดี โปร่งสบายและบาง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน