บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ บุคคลที่ได้สิทธิรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่เงินยังไม่เข้ากันนะคะ เช็กวิธีแก้ไขก่อน 3 ธ.ค. 67 นี้ค่ะ

 

 

สำหรับดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หรือเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ล็อตแรกกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้พิการ และ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้รับเป็นเงินสดถึงมือแล้ว ซึ่งรัฐบาลจะโอนเข้าบัญชีให้โดยตรง ระหว่างวันที่ 25 – 30 กันยายน 2567 เรียงลำดับตามเลขท้ายบัตรประชาชน แต่ปรากฏว่าพบปัญหาผู้มีสิทธิได้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หลายคนเงินยังไม่เข้า ยังไม่ได้รับเงินกันนะคะ โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ยังตกหล่นไม่ได้รับเงินในวันแรก (25 ก.ย.67) โอนเงินไม่สำเร็จ 49,383 คน และกลุ่มคนพิการ ที่โอนไม่สำเร็จอีก 8,829 คน รวมถึงคนที่ไม่ได้รับการจ่ายเงินตั้งแต่ต้น ที่มีมากกว่า 9.3 หมื่นคน ซึ่งกระทรวงการคลัง ได้สรุปสาเหตุหลักๆ พร้อมแนะรีบดำเนินการแก้ไข ก่อนถึงรอบโอนกลุ่มตกหล่น ซึ่งรอบเก็บตก จะโอนให้ตามปฏิทินดังนี้

– ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2567

– ครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567

– ครั้งที่ 3 ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2567

โดยหากรีบแก้ไขก่อน วันที่ 10 ตุลาคม 2567 ก็จะได้รับโอนเงิน 10,0000 รอบเก็บตก ในครั้งที่ 1 ทันที หรือในวันที่ 22 ตุลาคม 2567 แต่หากดำเนินการไม่ทัน ก็ขอให้รีบแก้ไขภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ก่อนที่จะถึงการโอนรอบเก็บตกครั้งสุดท้ายในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 ซึ่งหากไม่ทันในรอบนี้ ก็จะเสียสิทธิทันทีเลยนะคะ

 

สาเหตุที่มีสิทธิได้รับดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แต่เงินไม่เข้า อาจเกิดจาก 3 ปัญหาดังนี้

 

 

1. ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน

เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกเลขบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น ถ้าหากไม่ได้รับเงิน อาจเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

– ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน ทางแก้ไขคือ ไปทำเรื่องผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน แล้วรอรัฐบาลโอนเงินซ้ำ

– ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนแล้ว แต่ยังไม่ถึง 3 วันนับจากวันที่ผูก ต้องรอรัฐบาลโอนเงินซ้ำ เช่น หากกำหนดการโอนเงินในวันที่ 25 กันยายน 2567 ต้องผูกพร้อมเพย์ก่อนวันที่ 22 กันยายน 2567

2. ไม่ได้ยืนยันตัวตน e-kyc

ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติการถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องยืนยันตัวตน e-kyc ณ ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น สำหรับผู้ที่มายืนยันตัวตนด้วยตัวเอง ใช้หลักฐานคือ บัตรประจำตัวประชาชน
สำหรับกรณีมอบอำนาจจากผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนที่ธนาคารเองได้ จะมีใช้เอกสารดังนี้

– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน
– หนังสือมอบอำนาจ สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
– สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการหรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)

กรณี ผูกพร้อมเพย์แล้ว ยืนยันตัวตน e-kyc หลังวันที่ 31 สิงหาคม 2567 แต่ยังไม่ได้รับเงิน

โดยกรณีนี้จะต้องรอรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตรอบโอนซ้ำเท่านั้น เนื่องจากเงื่อนไขมีอยู่ว่า คนที่จะได้เงินดิจิทัลในงวดเดือนกันยายน จะต้องเป็นคนที่ยืนยันตัวตน e-kyc ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567

3. บัตรผู้พิการหมดอายุ, ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ

ผู้พิการที่โอนไม่สำเร็จ 8,829 คน สาเหตุจาก บัญชีเงินฝากธนาคารถูกปิด หรือ เลขบัญชีเงินฝากธนาคารไม่ถูกต้อง ส่วนผู้พิการจำนวน 93,979 คน ที่จะยังไม่ได้เงิน 10,000 บาท ตั้งแต่เริ่มต้นในรอบแรก สาเหตุเนื่องจากข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ได้แก่ บัตรหมดอายุ, ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ, ไม่มีช่องทางการจ่ายเบี้ย ฯลฯ ก็ขอให้ไปติดต่อพม. ในพื้นที่จังหวัดของตนเอง ดำเนินการอัปเดตข้อมูลให้สมบูรณ์เรียบร้อย

ซึ่งขณะนี้ทางพม. ได้ขยายเวลาขึ้นทะเบียนคนพิการถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 โดยผู้พิการคนไหน ยังไม่ได้ลงทะเบียนหรือบ้านไหนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นคนพิการ ขอให้เร่งมาขึ้นทะเบียนออกบัตรเพื่อรักษาสิทธิเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000

 

ต่ออายุบัตรคนพิการ

สำหรับการต่ออายุบัตรคนพิการ สามารถไปต่ออายุบัตรได้ที่ศูนย์บริการคนพิการ ประจำจังหวัด ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด โดยสามารถต่อล่วงหน้าได้ 30 วัน ก่อนหมดอายุ

เอกสารที่ต้องเตรียม

– บัตรประชาชน
– ทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
– เอกสารรับรองความพิการ
– บัตรประจำตัวคนพิการใบเดิม
– หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)

 

ขั้นตอนการขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ ต้องทำอย่างไร

1. คนพิการเข้ารับการตรวจ เพื่อขอรับเอกสารรับรองความพิการ ณ โรงพยาบาลของรัฐ
2. คนพิการ/ผู้ดูแล นำเอกสารยื่นเจ้าหน้าที่ ทำการตรวจสอบเอกสาร
3. เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูล ออกบัตรประจำตัวคนพิการ
4. ยื่นบัตรขึ้นทะเบียน
5. รอรับสิทธิเบี้ยความพิการ

 

เอกสารที่ต้องเตรียม (อย่างละ 1 ฉบับ)

1. เอกสารรับรองความพิการ จากโรงพยาบาลของรัฐ
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาสูติบัตร (คนพิการ)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน (คนพิการ)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ดูแล)
5. รูปถ่ายคนพิการ 1 นิ้ว (กรณีคนพิการไม่สามารถมาด้วยตนเอง)

กรณีผู้ที่จะเป็นผู้ดูแลคนพิการ ไม่ใช่ญาติร่วมสายโลหิต หรือทะเบียนบ้านไม่ได้อยู่ร่วมกับคนพิการ ให้ข้าราชการ กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน รับรองบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ดูแลคนพิการ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรข้าราชการ อย่างละ 1 -เทคนิค|

 

 

 

 

 

ที่มา : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 กรมประชาสัมพันธ์