แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อ ปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ ก็ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดข้ึนในอนาคตได้เลยนะคะ ดังนั้นจึงควรศึกษา เรียนรู้เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริงไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการ ลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้นั่นเองค่ะ
แผ่นดินไหว (Earthquake) คืออะไร
แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อ ปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่
การเกิดแผ่นดินไหวแบ่งได้ 2 สาเหตุดังนี้ค่ะ
– มนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน การอัดน้ำปริมาณมาก ลงชั้นใต้ดิน และแรงระเบิดจากการทาเหมืองแร่ เป็นต้น
– ธรรมชาติ ได้แก่ การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก หรือรอยเลื่อนมีพลัง ภูเขาไฟ ระเบิด อุกกาบาตพุ่งชนโลก และดินถล่ม เป็นต้น
แผ่นดินไหวนำ (Foreshock) แผ่นดินไหวหลัก (Mainshock)แผ่นดินไหวตาม (Aftershock) แตกต่างกันอย่างไร
– แผ่นดินไหวนำ คือแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ท่ีเกิดข้ึนหลายๆคร้ังก่อนเกิดแผ่นดินไหว หลัก
– แผ่นดินไหวหลัก คือแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่มากท่ีสุดในช่วงเวลานั้น
– แผ่นดินไหวตาม คือ แผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เกิดข้ึนหลาย ๆ คร้ัง หลังจากเกิดแผ่น ดินไหวหลัก
ความร้ายแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวสามารถบอกได้ในรูปของขนาด (Magnitude)และ ความรุนแรง (Intensity) มีความแตกต่างกันดังนี้
– ขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) เกี่ยวข้องกับปริมาณพลังงานซึ่งถูกปลดปล่อยออกมา ณ. ตำแหน่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหวข้ึนอยู่กับความสูงของคลื่น(Amplitude) บันทึกได้ด้วย เครื่องวัดแผ่นดินไหว(มีได้ค่าเดียวและไม่ได้เป็นหน่วยวัดเพื่อแสดงผลของความเสียหาย)
– ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) เป็นผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อ ความรู้สึกของการตอบสนองของผู้คน และความเสียหายของอาคาร สิ่งก่อสร้างและต่อสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติ มีความมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละแห่งท่ีได้ร้บผลกระทบ ยกตัวอย่างเช่น มาตราวัดเมอร์คัลลี่ (Mercalli)แบ่งออกเป็น 12 ระดับจากความรุนแรงน้อยมากจนไม่สามารถ รู้สึกได้ ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือวัดแผ่น ดินไหว จนถึงขั้นรุนแรงที่สุดทุกอย่างบนโลกพังพินาศ
ศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหว และจุดเหนือศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหว คืออะไร
– ศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหว เป็นจุดเริ่มใต้พื้นดินของการกระจายพลังงานของคลื่น
แผ่นดินไหวออกไปทุกทิศทางผ่านตัวกลางชั้นหิน/ดิน
– จุดเหนือศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหวเป็นตำแหน่งผิวดินเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
รอยเลื่อนมีพลัง คืออะไร
รอยเลื่อนบนเปลือกโลกท่ีสามารถตรวจสอบได้ หรือมีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า ยังคงมี
การเลื่อนตัวอยู่ในช่วงเวลาธรณีกาลสมัยโฮโลซีน (Holocene) หรือประมาณ 11,000 ปีมาแล้วมีพลังงานดังกล่าวน้ี มีโอกาสก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้อีก
เราสามารถทำนายตำแหน่ง ขนาด และวันเวลาของการเกิดแผ่นดินไหวได้ก่อนล่วงหน้าหรือไม่
การเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ เรารับรู้ถึงแรงสั่นไหวหรือตรวจวัดได้ ก็ต่อเมื่อ คลื่นแผ่นดินไหวนั่นเคลื่อนที่ผ่าน
ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว ข้ึนอยู่กับปัจจัยใดบ้าง
(1) ขนาดของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวขนาดใหญ่การสั่นไหวยิ่งรุนแรง
(2) ระยะทางจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ยิ่งใกล้การสั่นไหวยิ่งรุนแรง
(3) ลักษณะชั้นดินและชั้นหินที่รองรับสิ่งปลูกสร้างดินอ่อนจะทำให้การสั่นไหวรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
ผลกระทบ ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดข้ึนจากอะไร ผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวคือ การสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวส่งผล
ให้โครงสร้างอาคารต่างๆ ได้รับบความเสียหายหรือพังทลาย นอกจากน้ียังส่งผลกระทบอื่นได้แก่ เกิดรอยแตกบนพื้นดิน ดินถล่ม และไฟไหม้
ขณะเกิดแผ่นดินไหว มีทรายพุ หรือ ลาวาโคลนพุ่งออกมาจากบ่อดิน เกิดขึ้นได้อย่างไร
ปรากฏการณ์ทรายพุ (Liquefaction)เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของคลื่นแผ่นดินไหวเขย่าชั้นตะกอนทรายท่ีเกาะกันหลวมๆในชั้นที่อิ่มตัวด้วยน้ำใต้ดิน ทาให้รูปแบบการจัดตัวของตะกอนเปลี่ยนไปเกิดการอัดตัวแน่นของตะกอนทราย เมื่อเกิดแรงดันน้ำเพิ่มสูงข้ึน ตะกอน ดังกล่าวจึงถูกดันขึ้นสู่ผิวดิน
ชุมชนท่ีอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือแผ่นดินไหว อย่างไร
จัดทำแผนบูรณาการในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว รายพื้นที่ และซักซ้อมแผนรับมือ และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่
ข้อปฏิบัติในการเตรียมพร้อมรับมือก่อนเกิดแผ่นดินไหวควรทำอย่างไร
– ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน
– ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
-ควรมีเครื่องมือดบังเพลิงไวใ้นบ้าน
-ควรทราบตำแหน่งของวาลว์ ปิดน้ำ วาลว์ ปิดก๊าซสะพานไฟฟ้าสำหรับตัด
กระแสไฟฟ้า
– อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูงๆ เมื่อแผ่นดินไหว อาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
-ผูกเครื่องใช้หนักๆให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
-สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ข้อปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหวคือ
– ตั้งสติพยายามอย่าแตกตื่นตกใจ
– หากอยู่ในห้องควรรีบหลบอยู่ใต้โต๊ะ มือพยายามยึดให้มั่นคง อย่าอยู่ใกล้หน้าต่าง กระจก หรือของที่แกว่งไกว
– หากอยู่ในที่โล่ง ควรรีบหมอบอยู่กับพื้น เอามือป้องศีรษะ ไม่ควรหลบอยู่ใต้ต้นไม้ หรือสายไฟ
– ไม่ควรใช้ลิฟต์
– รีบปิดแก้สให้สนิท
– ขณะขับรถให้รีบจอดด้วยความระมัดระวัง
เมื่อการสั่นไหวสิ้นสุดลง ควรปฏิบัติตนอย่างไร
ให้ติดตามข่าวสาร จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จากวิทยุ และโทรทัศน์และปฏิบัติตามคำแนะนำ อย่างเคร่งครัด
เมื่อหน่วยงานท่ีเก่ียวขอ้วนงประกาศสถานการณ์เขา้ สู่สภาวะปกติ ภายหลงั้นเหตุการณ์ แผ่นดินไหว ท่านควรทำอย่างไร
ตรวจสอบความเสียหายของอาคารบ้านเรือนโครงสร้างต่างๆ ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ในการซ่อมแซมและเสริมความแข็งแรงของอาคารบ้านเรือนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดแผ่นดินไหวข้ึนอีกในอนาคต
รอยเลื่อนมีพลัง ในประเทศไทย มีก่ีรอยเลื่อน พาดผ่านก่ีจังหวัด รอยเลื่อนมีพลังใน
เปิดข้อมูล 16 รอยเลื่อนยังมีพลังในประเทศไทย พาดผ่านพื้นที่ไหน-จังหวัดใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว
จากกรณีเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 4.5 ความลึก 5 กิโลเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ บริเวณ ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน เวลา 00.17 น. จนทำให้ประชาชนรู้สึกได้ถึงแรงสั่นไหวบริเวณจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร
ทำให้หลายคนสงสัยว่า บริเวณพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย ยังมีที่ไหนที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวอีกบ้าง
โดยจากข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณี ที่เผยแพร่แผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย โดยปรับปรุงข้อมูล เดือนมีนาคม 2563 พบว่ามีรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง 16 กลุ่มรอยเลื่อน ประกอบด้วย
1.กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่าน จ.เชียงราย และ เชียงใหม่
2.กลุ่มรอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่าน จ.เชียงราย
3.กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่าน จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.ตาก
4.กลุ่มรอยเลื่อนเมย พาดผ่าน จ.ตาก และ จ.กำแพงเพชร
5.กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านจ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน จ.เชียงราย
6.กลุ่มรอยเลื่อนเถิน พาดผ่าน จ.ลำปาง และ จ.แพร่
7.กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา พาดผ่าน จ.พะเยา จ.เชียงราย และ จ.ลำปาง
8.กลุ่มรอยเลื่อนปัว พาดผ่าน จ.น่าน
9.กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่าน จ.อุตรดิตถ์
10.กลุ่มกลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่าน จ.กาญจนบุรี
11.กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่าน จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.อุทัยธานี จ.ตาก
12.กลุ่มรอยเลื่อน ระนอง พาดผ่าน จ. ระนอง จ.ชุมพร จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.พังงา
13.กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่าน จ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต
14.กลุ่มรอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่าน จ.เพชรบูรณ์ และ จ.เลย
15.กลุ่มรอยเลื่อนแม่ลาว พาดผ่าน จ.เชียงราย
16.กลุ่มรอยเลื่อนเวียงแห พาดผ่าน จ.เชียงใหม่
อย่างไรก็ตามสำหรับรอยเลื่อนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ พบว่าสาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน (Hidden Fault) ซึ่งอยู่นอกเหนือจาก 16 กลุ่มรอยเลื่อนมีพลัง ที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวมาก่อนในรอบ 100 ปีค่ะ