บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง ค่าแรงขั้นต่ำ แต่ละจังหวัดได้เท่าไหร่ อัปเดตล่าสุด ปี 2568 กันนะคะ สำหรับในปีนี้ ถือว่าเป็นข่าวดีของลูกจ้างกันนะคะ เมื่อกระทรวงแรงงานได้ประกาศใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำฉบับใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไปแล้วนะคะ โดยแบ่งอัตราค่าจ้างออกเป็น 17 ขั้น สูงสุดอยู่ที่ 400 บาทต่อวัน และต่ำสุดอยู่ที่ 337 บาทต่อวัน ซึ่งพิจารณาเป็นรายจังหวัด อำเภอ และประเภทกิจการนั่นเองค่ะ พร้อมแล้วตามมาดูกันเลยค่ะว่า จังหวัดไหนได้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2568 เป็นเท่าไหร่กันบ้างนะคะ

 

 

ค่าแรงขั้นต่ำ แต่ละจังหวัดได้เท่าไหร่ อัปเดตล่าสุด ปี 2568

 

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน

– ประกอบด้วย 5 จังหวัด 1 อำเภอ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ภูเก็ต, ระยอง และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

– ประเภทกิจการ (ทุกจังหวัด) ไดแก่

1. กิจการโรงแรมทั่วประเทศ

2. กิจการสถานบริการทั่วประเทศ

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 380 บาท/วัน

ประกอบด้วย 2 อำเภอ

– อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

– อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 372 บาท/วัน

– จังหวัดนครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 359 บาท/วัน

– จังหวัดนครราชสีมา

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 358 บาท/วัน

– จังหวัดสมุทรสงคราม

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 357 บาท/วัน

– จังหวัดขอนแก่น, เชียงใหม่ (ยกเว้นอำเภอเมือง), ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 356 บาท/วัน

– จังหวัดลพบุรี

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 355 บาท/วัน

– จังหวัดนครนายก, สุพรรณบุรี และหนองคาย

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 354 บาท/วัน

– จังหวัดกระบี่ และตราด

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 352 บาท/วัน

– จังหวัดกาญจนบุรี, จันทบุรี, เชียงราย, ตาก, นครพนม, บุรีรัมย์, ประจวบคีรีขันธ์, พังงา, พิษณุโลก, มุกดาหาร, สกลนคร, สงขลา (ยกเว้นอำเภอหาดใหญ่), สระแก้ว, สุราษฎร์ธานี (ยกเว้นอำเภอเกาะสมุย) และอุบลราชธานี

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 351 บาท/วัน

– จังหวัดชุมพร, เพชรบุรี และสุรินทร์ ค่าแรงขั้นต่ำ 350 บาท/วัน – จังหวัดนครสวรรค์, ยโสธร และลำพูน

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 349 บาท/วัน

– จังหวัดกาฬสินธุ์, นครศรีธรรมราช, บึงกาฬ, เพชรบูรณ์ และร้อยเอ็ด

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 348 บาท/วัน

– จังหวัดชัยนาท, ชัยภูมิ, พัทลุง, สิงห์บุรี และอ่างทอง

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 347 บาท/วัน

– จังหวัดกำแพงเพชร, พิจิตร, มหาสารคาม, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, ราชบุรี, ลำปาง, เลย, ศรีสะเกษ, สตูล, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อำนาจเจริญ, อุดรธานี, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 345 บาท/วัน

– จังหวัดตรัง, น่าน, พะเยา และแพร่

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 337 บาท/วัน

– จังหวัดนราธิวาส, ปัตตานี และยะลา

 

ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวยังระบุด้วยว่า วันทำงานของลูกจ้างจะต้องไม่เกิน 7 ชั่วโมง สำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง (ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) และต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง สำหรับงานอื่น ๆ นอกจากนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานน้อยกว่าเวลาทำงานปกติ

 

 

ค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานฝีมือ ปี 2568 ค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานฝีมือ

สำหรับแรงงานฝีมือได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างครอบคลุม 13 อาชีพ โดยมีอัตราค่าจ้างรายวันตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ดังนี้

1. พนักงานขับรถโดยสารสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว (รถทัวร์) ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 600 บาท/วัน

2. ช่างซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้า ระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 600 บาท/วัน

3. ผู้บังคับรถปั้นจั่นตีนตะขาบ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 620 บาท/วัน

4. ผู้บังคับรถปั้นจั่นล้อยาง ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 620 บาท/วัน

5. ผู้บังคับปั้นจั่นติดรถบรรทุก ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 560 บาท/วัน

6. พนักงานขับรถบรรทุก ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 485 บาท/วัน

7. ช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศสำหรับห้องสะอาด ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 720 บาท/วัน และระดับ 2 อัตราค่าจ้าง 800 บาท/วัน

8. ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 500 บาท/วัน

9. ช่างไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรม การจัดงานประชุม การเดินทาง เพื่อเป็นรางวัล และการแสดงสินค้า (MICE) ระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 600 บาท/วัน

10. นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษาซี) ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 700 บาท/วัน

11. นักดูแลและบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 770 บาท/วัน

12. ช่างควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 605 บาท/วัน

13. ผู้ฝึกสอนมวยไทย ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่า 565 บาท/วัน

 

ทั้งนี้ การที่จะได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ แรงงานจะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพนั้น ๆ ซึ่งจะออกโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของทั้ง 13 อาชีพได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : กระทรวงแรงงาน