บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง เปิดข้อบัญญัติ ควบคุมการเลี้ยง-ปล่อยสัตว์ ใหม่ล่าสุด บังคับใช้ 10 ม.ค.ปี 2569 กันนะคะ เมื่อวันที่ 23 เมษายน กรุงเทพมหานคร เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก ถึง ข้อบัญญัติใหม่ ควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2567 โดยมีมีผลบังคับใช้ 10 มกราคม 2569 นี้ โดยระบุข้อความว่า “เลี้ยงสัตว์ใน กทม. ต้องรู้ ข้อบัญญัติใหม่ ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2567 ประกาศแล้ว มีผลบังคับใช้ 10 มกราคม 2569 นี้ กรุงเทพมหานครออกข้อกำหนดใหม่ ที่เจ้าของสัตว์ทุกคนต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืน อาจเจอโทษตามกฎหมายนะคะ พร้อมแล้วตามมาดูรายละเอียดต่างๆกันเลยค่ะ

 

 

เปิดข้อบัญญัติ ควบคุมการเลี้ยง-ปล่อยสัตว์ ใหม่ล่าสุด บังคับใช้ 10 ม.ค.ปี 2569

 

 

 

จำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยงตามขนาดพื้นที่

  • ห้องเช่า / คอนโด ไม่เกิน 20 – 80 ตร.ม. → เลี้ยงได้ 1 ตัว
  • ห้องเช่า / คอนโด 80 ตร.ม. ขึ้นไป → เลี้ยงได้สูงสุด 2 ตัว
  • เนื้อที่ดิน ไม่เกิน 20 ตร.วา → เลี้ยงได้ 2 ตัว
  • เนื้อที่ดิน ไม่เกิน 50 ตร.วา → เลี้ยงได้ 3 ตัว
  • เนื้อที่ดิน ไม่เกิน 100 ตร.วา → เลี้ยงได้ 4 ตัว
  • เนื้อที่ดิน 100 ตร.วา ขึ้นไป → เลี้ยงได้ไม่เกิน 6 ตัว

 

 

 

  • สัตว์เศรษฐกิจ เช่น วัว ม้า เป็ด ไก่ → ต้องมีพื้นที่ตามที่กำหนด
  • ต้องจดทะเบียน + ฝังไมโครชิป ภายใน 120 วันหลังเกิด หรือ 30 วันหลังนำมาเลี้ยง

 

 

 

  • สุนัขพันธุ์อันตราย เช่น พิทบูล ร็อตไวเลอร์ ต้องแจ้งเขตเพื่อควบคุมเป็นพิเศษ

 

 

 

คลินิกสัตวแพทย์ของกรุงเทพมหานคร กลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง โทร. 0-2248-7417

 

  1. คลินิกสัตวแพทย์ กทม.1 สีพระยา เขตบางรัก โทร. 0-2236-4055 ต่อ 213
  1. คลินิกสัตวแพทย์ กทม.2 มีนบุรี เขตมีนบุรี โทร. 0-2914-5822
  1. คลินิกสัตวแพทย์ กทม.3 วัดธาตุทอง เขตวัฒนา โทร. 0-2392-9278
  1. คลินิกสัตวแพทย์ กทม.4 บางเขน เขตจตุจักร โทร. 0-2579-1342
  1. คลินิกสัตวแพทย์ กทม.5 วัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ โทร. 0-2472-5895

ต่อ 109

  1. คลินิกสัตวแพทย์ กทม.6 ช่วงนุชเนตร เขตจอมทอง โทร. 0-2476-6493 ต่อ 1104
  1. คลินิกสัตวแพทย์ กทม.7 บางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย โทร. 0-2411-2432

 

 

ข้อกำหนดเมื่อพาสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน

 

  • ต้องใช้สายจูง / กรง
  • ห้ามปล่อยให้รบกวนผู้อื่น
  • ต้องเก็บอึสัตว์ทุกครั้งในที่สาธารณะ

สอบถามเพิ่มเติม หรืออยากจดทะเบียน ติดต่อคลินิกสัตวแพทย์ กทม. ทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานเขตใกล้บ้านได้เลยนะคะ ทำให้ถูกกฎ ไม่ใช่แค่ป้องกันโทษ แต่ยังทำให้เราเป็น ‘เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพ’ และช่วยสร้างสังคมที่น่าอยู่สำหรับทุกคน” อีกด้วยนะคะ