บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ 6 สิ่งควรทำ เมื่อ หมา แมว โดนวางยาเบื่อกันนะคะ สำหรับใครที่มีลูกสมุนอยู่ในบ้านไม่ว่าจะเป็นเหล่าน้องหมาหรือน้องแมวก็ตามนะคะ บอกเลยว่าไม่ควรพลาดบทความนี้อ่างเก็ดขาดเลยนะคะ เพราะการ โดน “วางยาเบื่อ” เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยง ทาสแมว ทาสหมา แทบใจสลายกันเลยนะคะ เมื่อต้องมาเจอมาทนเห็นสภาน้องๆทรมานจากการรับพิษ พร้อมแล้วตามมาดูกันเลยค่ะว่า 6 สิ่งควรทำ เมื่อ หมา แมว โดนวางยาเบื่อนั้น จะต้องทำอย่างไรบ้าง จะได้เป็นความรู้ เป็นทางเลือก หากเกิดเหตุไม่คาดฝันนี้ขึ้นนะคะ เพื่อจะได้ช่วยเหลือ น้องหมาน้องแมว ได้ทันเวลานั่นเองค่ะ
6 สิ่งควรทำ เมื่อ หมา แมว โดนวางยาเบื่อ
1. สังเกตอาการ และดูว่าสัตว์เลี้ยงของเรายังรู้สึกตัวอยู่หรือไม่
2. สังเกตพื้นที่โดยรอบ ควรดูว่าบริเวณที่น้องหมาน้องแมวโดนยาเบื่อมีเศษยา เศษอาหาร หรือเศษวัตถุอื่น ๆ บ้างไหม ที่จะสามารถบ่งบอกสาเหตุได้ หากพบเจอควรเก็บไปให้สัตวแพทย์พิจารณาด้วยนะคะ
3. ระวังยาเบื่อที่มีฤทธิ์กรด-ด่างรุนแรง ไม่ควรทำให้สัตว์เลี้ยงอาเจียน ยาเบื่อที่น้องหมาน้องแมวได้กิน อาจเป็นยาที่มีฤทธิ์กรด-ด่างรุนแรง ดังนั้นหากไม่แน่ใจว่าน้องกินอะไรเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียนโดยเด็ดขาดนะคะ เพราะจะยิ่งเป็นอันตรายกับน้องค่ะ
4. ตรวจสอบสิ่งที่อาเจียนออกมา หากน้องหมาน้องแมวอาเจียนออกมา ตรวจสอบสิ่งที่สัตว์เลี้ยงอาเจียนออกมาว่ามีลักษณะอย่างไร และควรเก็บไปให้สัตวแพทย์ดูด้วยค่ะ
5. ให้กินยาหรือสารเคมีบางตัวเพื่อดูดซึมพิษ ในช่วงระหว่างที่พาสุนัขหรือแมวไปโรงพยาบาล อาจให้สัตว์เลี้ยงกินไข่ขาว นม หรือผงถ่านที่ผสมกับน้ำ จะสามารถช่วยดูดซึมสารพิษได้ แต่ควรให้กินในช่วงแรกที่ได้รับสารพิษเข้าไปทันที หรือภายใน 4 ชั่วโมงนะคะ
6. รีบพาไปพบสัตวแพทย์ ให้รีบพาน้องหมาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ พร้อมกับสิ่งที่อาจพบเจอบริเวณที่โดนยาเบื่อ เพื่อให้สัตวแพทย์วินิจฉัย และสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงทีนะคะ
การวินิจฉัยและการรักษาภาวะพิษใน สุนัข และแมว
สำหรับการวินิจฉัยและการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าน้องหมาน้องแมว ได้รับพิษชนิดใด หากเราให้ข้อมูลกับสัตวแพทย์มากเท่าไรก็ยิ่งเป็นผลดีเท่านั้นค่ะ แต่หากไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้หมาแมวป่วย สัตวแพทย์สามารถทำการทดสอบต่าง ๆ เพื่อประเมินอาการได้ค่ะ ส่วนการฟื้นตัวจากพิษนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่สัตว์เลี้ยงได้รับนะคะ รวมถึงระยะเวลาที่พาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษา สัตว์เลี้ยงที่ได้รับการรักษาพิษในระยะเริ่มต้นจะมีผลลัพธ์ที่ดีกว่านั่นเองค่ะ