บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ 6 วิธีกำจัดหนอนต้นไม้ ก่อนโดนกินใบจนเกลี้ยงกันนะคะ มาดูวิธีกำจัดหนอนต้นไม้ ศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้กับสวนสวย ๆ กันนะคะ พร้อมวิธีสังเกตหนอนเพื่อกำจัดก่อนกินต้นไม้หมดแปลงกันด้วยนะคะ

 

6 วิธีกำจัดหนอนต้นไม้ ก่อนโดนกินใบจนเกลี้ยง

 

 

1. สเปรย์น้ำมันสะเดา

สเปรย์น้ำมันสะเดาเป็นสารสกัดจากพืชที่ทำมาจากเมล็ดสะเดา ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อคนหรือสัตว์เลี้ยง แต่มีผลกระทบกับระบบหายใจและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน แต่อย่างไรก็ตาม หากนำสเปรย์น้ำมันสะเดามาใช้กำจัดหนอน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์อย่างเคร่งครัด

2. แบคทีเรียบีที (น้ำยา BT)

แบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) เป็นแบคทีเรียที่ช่วยกำจัดหนอนผีเสื้อ แต่ไม่เป็นพิษต่อนก ปลา หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยผสมเชื้อบีทีในอัตรา 0.1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรฉีดพ่นในตอนเย็นเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดจะได้ผลดียิ่งขึ้น และควรผสมสารจับใบทุกครั้ง ในช่วงการระบาด ควรฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง

3. สเปรย์พริกไทย

คุณสามารถฆ่าหนอนผีเสื้อได้ด้วยพริกไทยสด เริ่มจากสวมถุงมือและแว่นป้องกันดวงตา จากนั้นบดพริกไทยสดให้ละเอียดพอประมาณ 1/2 ถ้วย ปอกกระเทียม 6 กลีบ นำทั้งหมดไปปั่นผสมกับน้ำ 2 ถ้วย น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนชา เทส่วนผสมลงในขวด ปิดฝาให้แน่น นำไปตากแดดประมาณ 2 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำกรอกลงในขวดสเปรย์ นำไปฉีดพ่นบริเวณที่พบหนอนผีเสื้อให้ทั่ว

4. สเปรย์น้ำส้มสายชู

น้ำส้มสายชูสามารถฆ่าและขับไล่แมลงศัตรูพืชในสวนได้เกือบทุกชนิด รวมถึงหนอนผีเสื้อด้วย โดยผสมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 1 แกลลอน แล้วฉีดพ่นบริเวณที่พบหนอนผีเสื้อ

5. สเปรย์สบู่

ทำสเปรย์สบู่โดยผสมสบู่ขูด 2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 1 ลิตร คนจนสบู่ละลายหมด แล้วนำมาฉีดพ่นลงบนบริเวณที่มีหนอนผีเสื้อ รวมทั้งยังกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และแมลงหวี่ขาว ได้อีกด้วย

6. เบกกิ้งโซดา

ผสมน้ำ 1 ลิตร กับเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา สบู่ขูด 1 ช้อนชา และน้ำมันพืช 2 ช้อนชา นำไปฉีดพ่นบริเวณต้นไม้ของคุณเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกัน หรือทุก 3 วัน เพื่อรักษาปัญหาเชื้อรา

สำหรับใครที่มีสวนก็ลองหมั่นสังเกตดูว่ามีหนอนผีเสื้อมากินใบหรือไม่ ถ้ามีควรหาทางกำจัดเสียก่อนต้นไม้จะล้มตายไปนะคะ

 

วิธีสังเกตหนอนในสวน

 

 

ไข่ : ผีเสื้อมักจะมาวางไข่บนต้นไม้ที่เป็นแหล่งอาหารของพวกมัน ซึ่งอาจจะแยกยากสักหน่อยระหว่างไข่ผีเสื้อกับไข่ของแมลง บางครั้งกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจเห็นแค่ซากหลังจากพวกมันลอกคราบทิ้งไว้ก็ได้

ใบแหว่ง : อีกหนึ่งจุดที่สามารถใช้เช็กว่ามีหนอนหรือไม่คือ รอยกัดแทะ ส่วนหนอนผีเสื้อจะกัดแทะใบจากขอบใบเข้ามา แทนที่จะเจาะกินเป็นรูจากกลางใบ

ใยดักแด้ : ถ้าเจอรังไหมหรือใยดักแด้ ให้ระวังเอาไว้เลยว่ามีหนอนกำลังแอบมากัดกินต้นไม้แน่นอน

มูล : เพราะผีเสื้อมักจะถ่ายทิ้งไว้ทุกที่ ที่พวกมันกินอาหาร มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ดูคล้ายเมล็ดธัญพืช หรือเม็ดพริกไทยขนาดเล็ก