บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ 10 เทคนิค แก้หลอดลมอักเสบ กันค่ะ โดยวิธีรักษาหลอดลมอักเสบ ที่จะนำเสนอในบทความนี้ เป็นวิธีที่อาจารย์สาทิส อินทรกําแหง ต้นตำรับของการดูแลตัวเองด้วยวิธีชีวจิต ได้เคยแนะนำไว้นะคะ ซึ่งเป็นการดูแลตัวเอง ตามแบบธรรมชาติ ขอเพียงมีวินัยและทำตามอย่างจริงจัง อาการก็จะดีขึ้นได้เองค่ะ จะมีเทคนิค หรือวิธีการใดบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

 

10 วิธีรักษาหลอดลมอักเสบ

 

 

1. หากคุณสูบบุหรี่ ขอให้เลิกสูบเด็ดขาด
อย่างน้อยมีข้อยืนยันจากศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรคด้านทรวงอกสองท่าน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์แดเนียลซิมมอนส์ (Daniel Simmons) แห่งมหาวิทยาลัย UCLA แคลิฟอร์เนีย และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กอร์ดอนสไนเดอร์ (Gordon Snyder) แห่งมหาวิทยาลัยบอสตันซึ่งยืนยันอย่างแน่นอนจากการศึกษาและวิจัยคนไข้หลอดลมอักเสบ เมื่อให้คนไข้เลิกสูบบุหรี่ อาการหลอดลมอักเสบหายหรือเกือบหาย (อาการดีขึ้น) โดยทันที

2. หยุดกินนม เนย ไข่ ช็อกโกแลต น้ำตาลของหวาน และหยุดดื่มกาแฟ
อาหารเหล่านี้เป็นตัวสร้างเสมหะและเป็นอาหารที่เชื้อโรคเกี่ยวกับโรคทรวงอกชอบมาก เป็นอาหารอย่างดีที่เลี้ยงเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อที่ทำให้เกิดอาการไอ

3. ดื่มน้ำอุ่นหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำใสๆ และไม่หวาน
อย่างน้อยวันละ 4 - 6 แก้ว เครื่องดื่มใสๆ ไม่หวานทำให้เสมหะละลายได้ง่าย

4. ให้กินผลไม้รสเปรี้ยว
เช่น มะนาวหรือส้ม หรือผลไม้อื่นๆ เช่น มะละกอ สับปะรด น้ำแครอต น้ำเซเลอรี่ (ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) น้ำแตงกวา หอมเล็ก ถ้าหาผลไม้ฝรั่งได้ เอพริคอตช่วยบรรเทาอาการไอได้

5. ไอมีเสมหะหรือไม่
ให้ฟังอาการไอของตัวเองว่า ไอมีเสมหะ (Productive Cough) หรือไม่มีเสมหะ (Nonproductive Cough) ถ้ามีเสมหะชนิดน้อยๆ ก็ยังไม่ต้องกินยาขับเสมหะเพราะอาจจะเป็นได้ว่า ร่างกายของคุณกำลังต้องการขับเสมหะด้วยตัวเอง ถ้าคุณไปกินยา เสมหะจะตกค้าง และสะสมในตัวคุณเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื้อโรคแข็งแรงขึ้นและกำเริบมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ

6. อย่าไปเชื่อยาแก้ไอ โดยเฉพาะยาที่ระบุสรรพคุณว่า กัดจัดเสมหะได้โดยเด็ดขาด
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงบาร์บารา ฟิลลิปส์ (Dr. Barbara Phillips) แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์เคนทักกี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด ยืนยันว่า ตั้งแต่เป็นแพทย์มายังไม่เคยพบเลยว่ามียาขนานใดที่สามารถระงับอาการไอได้โดยเด็ดขาดและทันที

7. หายใจเอาอากาศร้อนๆ และมีไอน้ำร้อนๆ
วิธีง่ายๆสำหรับคนไทยก็คือ เอาผ้าขนหนูคลุมหัว แล้วก้มลงสูดไอร้อนจากน้ำต้มหอมเล็ก (น้ำ 1 หม้อ ใส่หอมเล็กสัก 10 หัว ต้มจนเดือด) ฉะนั้น ในเมื่อยาไม่ได้ผล แต่ยังขืนกินต่อไปเป็นเวลานาน เชื้อโรคจะดื้อและชินกับยา ต่อไปจะใช้ยาแรงอย่างใดก็จะไม่ได้ผลเลย

8. อย่ากินยาแอนติไบโอติก หรือยาประเภทปฏิชีวนะ 
การกินยาประเภทแอนติไบโอติกหรือยาประเภทปฏิชีวนะ พวกเชื้อโรคที่เป็นเพื่อนกับท้องไส้กับคุณจะถูกทำลาย เชื้อโรคที่ว่านี้อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนัก แต่ตามหลักฐานที่เราศึกษาเกี่ยวกับลำไส้ของมนุษย์ ปรากฏว่ามีเชื้อโรคหลายชนิดอาศัยอยู่ในลำไส้ของเรา เชื้อโรคเหล่านี้อาจจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อราก็ได้ มันอาศัยอยู่ในลำไส้ของเรา และดำรงชีวิตอยู่ด้วยการกินเศษอาหารในลำไส้
ในขณะเดียวกันก็ทำตัวเป็นมิตรกับเรา โดยจะคอยฆ่าและทำลายเชื้อโรคอื่นๆ ที่จะมาทำอันตรายแก่ร่างกายเราด้วยเราเรียกเชื้อโรคเหล่านี้ว่า Intestinal Fauna and Flora หรือจะเรียกแบบชาวบ้านก็ได้ว่า กลุ่มเชื้อโรคซึ่งเป็นมิตรกับระบบลำไส้ของเรา
เมื่อเรากินยาประเภทปฏิชีวนะเข้าไป ยาพวกนี้ก็จะไปฆ่าและทำลายเชื้อโรคที่เป็นมิตรของเราในลำไส้เสียหมดเลย จะทำให้ระบบย่อยอาหารของเราผิดปกติไป การย่อยอาหารจะไม่สมบูรณ์ ย่อยได้ไม่หมด และเราจะเกิดอาการผิดปกติ เช่น อาการท้องเฟ้อ ท้องอืดและบางทีก็ถึงกับท้องเดินได้

วิธีแก้คือ ให้กินอาหารที่มีเชื้อราและเป็นมิตรกับเราคือ อาหารที่มีเชื้อประเภท Lactobacillus หรือ Acidophilus อาหารที่มีเชื้อประเภทนี้ ได้แก่ โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวเป็นต้นค่ะ สำหรับโยเกิร์ตนั้นควรจะเป็นเพลนโยเกิร์ต (plain yogurt) หรือโยเกิร์ตแบบที่ไม่เติมความหวานหรือเติมผลไม้ ฉะนั้นถ้าคุณกินยาประเภทปฏิชีวนะ ควรจะกินโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว และจะช่วยสร้างเชื้อโรคที่เป็นมิตรกับเราและยังช่วยบรรเทาการไอด้วย

9. ให้กินนมผึ้ง หรือเกสรผึ้งชนิดเม็ด
ถ้าเป็นนมผึ้งชนิดเหลว ให้เติมน้ำหรือของเหลวประมาณ 1 ช้อนชาถ้าเป็นเม็ด กินชนิดเม็ดขนาด 1,000 มิลลิกรัม นมผึ้งแบบเม็ด แก้หลอดลมอักเสบ จากการทดลองปรากฏว่า ผู้ที่มีอาการไอเพราะแพ้อากาศและเกสรดอกไม้ เมื่อกินนมผึ้งหรือเกสรผึ้ง ช่วยบรรเทาอาการไอได้ดีมาก

10. ให้กินวิตามินชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้

* วิตามินเอ 10,000 ไอยู 1 แคปซูล 2 ครั้ง เช้า - เย็นหลังอาหาร
* วิตามินบี คอมเพล็กซ์ 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด 1 ครั้งตอนเช้า หลังอาหาร
* วิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม 1 ครั้ง เช้า - เย็น หลังอาหาร
* แคลเซียม 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด มื้อเย็น หลังอาหาร
* แมกนีเซียม 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด มื้อเย็น หลังอาหาร
* โพแทสเซียมฟอสเฟต 1 เม็ด มื้อเย็น หลังอาหาร

 

 

 

 

 

ที่มา : นิตยสารชีวจิต