บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ 10 อันดับ โรงเรียนที่เข้ายากที่สุด เพราะอัตราแข่งขันสูงมากกันนะคะ โดยข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยโดยทาง สพฐ. นะคะ โดยเป็นการจัดอันดับ 10 โรงเรียนชื่อดังใน กทม. ว่าด้วยเรื่องการแข่งขันสูงในการเข้าเรียนนะคะ จะมีโรงเรียนไหนกันบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลยค่ะ
10 อันดับ โรงเรียนที่เข้ายากที่สุด เพราะอัตราแข่งขันสูงมาก
1. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อังกฤษ: Suankularb Wittayalai School; อักษรย่อ: ส.ก. / S.K.) เป็นโรงเรียนชายล้วน ระดับชั้น มัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชื่อเดิม: กรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2424 (ขณะนั้นนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เมื่อนับอย่างสากลถือเป็น พ.ศ. 2425) ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย
จำนวนคนสมัครสอบ – 1546
จำนวนที่รับ – 280
อัตราแข่งขัน – 1: 5.52
2. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย (ย่อ: ส.ส., SS) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา
จำนวนคนสมัครสอบ – 879
จำนวนที่รับ – 240
อัตราแข่งขัน – 1 : 3.66
3. โรงเรียนหอวัง
โรงเรียนหอวัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวนคนสมัครสอบ – 958
จำนวนที่รับ – 360
อัตราแข่งขัน – 1 : 2.66
4. โรงเรียนโยธินบูรณะ
โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 มีนายภักดิ์ ฉวีสุข เป็นครูใหญ่ท่านแรก (พ.ศ. 2478-2479) และนายสันทัด เมี้ยนกำเนิด เป็นผู้อำนวยการท่านแรก (พ.ศ. 2513-2519) เดิมตั้งอยู่เลขที่ 1162 แยกเกียกกาย ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาพื้นที่บริเวณดังกล่าวถูกใช้ในการก่อสร้างสัปปายะสภาสถานซึ่งเป็นอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่ในปัจจุบัน จึงได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนบนที่ตั้งแห่งใหม่ที่เลขที่ 1313 ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
จำนวนคนสมัครสอบ – 828
จำนวนที่รับ – 320
อัตราแข่งขัน – 1: 2.59
5. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 78 ถนนรามคำแหง แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ซึ่งคุณย่าฉวี ทัศนปรีดา มีความรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแผ่เมตตาบารมีคุ้มเกล้าฯ พสกนิกร ชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ ในด้านการศึกษาของเยาวชน คุณย่าฉวี ทัศนปรีดาจึงได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดินถมแล้วจำนวน 10 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา (ปัจจุบันมีเนื้อที่ 15 ไร่ 93 ตารางวา) เมื่อวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2526 เพื่อพระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการ และได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2526 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า” ตามความประสงค์ของคุณย่าฉวี ทัศนปรีดา ทั้งนี้ คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้ประสานงานในการจัดตั้ง
จำนวนคนสมัครสอบ – 320
จำนวนที่รับ –
อัตราแข่งขัน – 1 : 2.31
6. โรงเรียนบดินทรเดชา
กลุ่มโรงเรียนบดินทรเดชา หรือ โรงเรียนในเครือบดินทรเดชา เป็นกลุ่มโรงเรียนที่ใช้นามโรงเรียนว่า “บดินทรเดชา” อันมาจากราชทินนามของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ประกอบด้วยโรงเรียนทั้งสิ้น 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี), โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒, โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา, โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔, โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี และโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุทรปราการ
จำนวนคนสมัครสอบ – 997
จำนวนที่รับ – 440
อัตราแข่งขัน – 1 : 2.27
7. โรงเรียนเทพศิรินทร์
โรงเรียนเทพศิรินทร์ (อังกฤษ: Debsirin School, ย่อ: ท.ศ., DS) เป็นโรงเรียนชายล้วน อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ก่อตั้งขึ้นใน 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
จำนวนคนสมัครสอบ – 673
จำนวนที่รับ – 320
อัตราแข่งขัน – 1 : 2.10
8. โรงเรียนโพธิสารพิทยากร
เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 120 (เดิมเลขที่ 14/2 หมู่ 2) ถนนพุทธมณฑล สาย 1 แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 0-2448-6130 , 0 –2448-6931 เปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ตั้งอยู่บนที่ดินของนายผัน และ นางสอิ้ง ไทรพุฒทอง และที่ดินของวัดโพธิ์ ซึ่งบริจาคและยอมให้ใช้ประโยชน์ในการจัดตั้งโรงเรียน รวมเนื้อที่ ทั้งหมดประมาณ 6 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา ในครั้งแรกเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดยท่านพระครูโพธิสารคุณ (นวล ธมฺมธโร) หรือหลวงปู่นวล เจ้าอาวาสวัดโพธิ์สมัยนั้น เป็นผู้ริเริ่มโดยเรียนที่ศาลาวัดริมคลองบางระมาด ต่อมาได้บอกบุญเรี่ยไรจากชุมชน ประกอบกับเงินงบประมาณของทางราชการเพื่อสร้างอาคารไม้แบบอุดร 2 ชั้น ขนาด 12 ห้องเรียน จนสามารถเป็นสถานที่ประกอบการเรียนการสอนได้สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2501
จำนวนคนสมัครสอบ – 821
จำนวนที่รับ – 400
อัตราแข่งขัน – 1 : 2.05
9. โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน (อังกฤษ: Rattanakosinsompoch Bangkhunthian School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (กรุงเทพมหานคร) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพระรามที่ 2 ซอย 69 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีเนื้อที่ 12 ไร่ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา และเป็นโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช 4 มุมเมือง
จำนวนคนสมัครสอบ – 818
จำนวนที่รับ –
อัตราแข่งขัน – 1 : 2.05
10. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ (ชื่อเดิม: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2) หรือเป็นที่รู้จักในนาม เตรียมพัฒน์ เป็นโรงเรียน ประเภทสหศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2[1] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 โดยคุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู (อธิบดีกรมสามัญศึกษา) โดยมีคุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ (ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) ปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนคนแรก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการตั้งอยู่เลขที่ 499 ถนนพัฒนาการ แขวงพัฒนาการ[2] (ก่อนวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 อยู่ในแขวงสวนหลวง) เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 มีเนื้อที่ภายในโรงเรียนทั้งหมด 38 ไร่
จำนวนคนสมัครสอบ – 1066
จำนวนที่รับ – 520
อัตราแข่งขัน – 1 : 2.05