บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง 10 อาหาร “โพรไบโอติกส์” ช่วยปรับลำไส้ และระบบขับถ่ายกันนะคะ สำหรับอาหาร “โพรไบโอติกส์” คืออะไร ดีต่อร่างกายอย่างไร ทำไมเราจึงควรกินอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ และมีอยู่ในอาหารชนิดใดบ้างนั้น พร้อมแล้วตามมาดูกันเลยค่ะ
10 อาหาร “โพรไบโอติกส์” ช่วยปรับลำไส้ และระบบขับถ่าย

โพรไบโอติกส์ คือ เชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง (คือพวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สร้างสารก่อมะเร็ง สารที่มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ) ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์อื่นๆ เช่น เพิ่มภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้นๆนะคะ ดังนั้น การบริโภคอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ จึงทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นได้นั่นเองค่ะ
1. คอทเทจชีส
คอชีสต้องรักสิ่งนี้ เพราะนอกจากจะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว แต่ยังมีสารอาหารที่ดีต่อร่างกายอย่าง แคลเซียม ในปริมาณสูงอีกด้วย ซึ่งช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงนั่นเองค่ะ
2. กิมจิ
นอกจากจะมีโพรไบโอติกส์ดีๆ ต่อร่างกาย และมีรสชาติเปรี้ยวๆ จะช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารเข้มข้นขึ้น อร่อยขึ้นแล้ว กิมจิยังขึ้นชื่อในเรื่องของการช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้อีกด้วยนะคะ
3. ซาวร์เคราต์ (Sauerkraut)
กะหล่ำปลีเปรี้ยวของเยอรมัน ใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงร่วมกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไส้กรอก แฮม หรือนำไปอบร่วมกับเนื้อสัตว์ นอกจากจะช่วยลดความเลี่ยนในการรับประทานเนื้อสัตว์ในมื้ออาหารแล้ว ยังช่วยประบสมดุลในการทำงานของระบบย่อยอาหาร และยังมีกากใยอาหารที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย
4. โยเกิร์ต
กระบวนการในการทำโยเกิร์ตมาจากการหมักเป็นหลัก ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในโยเกิร์ตจึงเป็นจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และมีอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งช่วยให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ในกรีกโยเกิร์ตที่จะมีจุลินทรีย์ Lactobacillus acidophilus และ Lactobacillus casei ที่ช่วยเพิ่มเชื้อแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกายในท้องของเราด้วย
5. มิโสะ
แม้ว่ามิโสะจะมีรสเค็ม ที่แปลว่ามีปริมาณโซเดียมอยู่เยอะพอสมควร แต่มิโสะก็เป็นแหล่งอาหารชั้นดีที่เต็มไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจเฉียบพลันได้

6. พิคเกิ้ล (แตงกวาดอง)
แตงกวาดองแบบฝรั่ง หรือที่เรียกว่า พิคเกิ้ล (Pickles) นอกจากจะเป็นอาหารหมักดองที่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังมีวิตามินดีๆ เช่น วิตามินเค วิตามินเอ ที่จำเป็นต่อการสร้างเลือดและเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และมีส่วนสำคัญในการบำรุงหัวใจให้แข็งแรง แต่ต้องจำเอาไว้ด้วยว่า แตงกวาดองมีโซเดียมสูง จึงควรจำกัดปริมาณในการกินในแต่ละครั้งให้ดี
7. คอมบูชา
คือ ชาหมักที่จะมีก๊าซและแอลกอฮอล์เกิดขึ้นเล็กน้อยหลังจากการหมักด้วย ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า “คาร์บอเนชั่น” (carbonation) หรือการที่มีก๊าซอยู่ในเครื่องดื่ม ซึ่งทำให้เกิดโพรไบโอติกส์ในปริมาณสูง รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วนเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังมีกรดแลคติก หรือแลคติก เอซิด (lactic acid) ที่ช่วยลดอาการท้องเสียได้อีกด้วย
8. น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล (Apple Cider Vinegar)
ช่วยในเรื่องของการทำงานของระบบย่อยอาหารได้ดี นิยมนำมาผสมในน้ำสลัด เป็นอาหารที่เหมาะหับคนที่อยากควบคุมน้ำหนัก เพราะเพิ้มการทำงานของระบบเผาผลาญไขมัน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทานวันละ 4 ช้อนโต๊ะ
9. เทมเป้เป็นโปรตีนที่ทำมาจากถั่วเหลือง
หรือถั่วเมล็ดแห้ง ที่สามารถรับประทานเพื่อทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ต่อต้านการเกิดของเนื้องอก และยังมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ให้กับร่างกายได้อีกด้วย
10. พาร์มีซานชีส
ชีสโปรดของใครหลายๆ คน มีกรดแลคติกที่ช่วยสร้างแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกายในท้องของเราได้ นอกจากนี้ยังมีสารอาหารสำคัญอย่างโปรตีน และแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก และกล้ามเนื้ออีกด้วยค่ะ