โลกของเราในปัจจุบันนี้ มีประเทศมากกว่า 195 ประเทศเลยนะคะ ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีขนาดพื้นที่แตกต่างกันออกไป ตามที่ได้มีการแบ่งแยกอาณาเขตกันมาในอดีต และมีหลายประเทศที่ใหญ่จนกินพื้นที่กว่า 2 ทวีป หรือในบางประเทศมีแม่น้ำและป่าที่ใหญ่กว่าพื้นที่ในหลายประเทศกันเลยทีเดียวนะคะ ตามมาดู 10 อันดับ ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมกันเลยนะคะ
10 อันดับ ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
1. รัสเซีย (พื้นที่ 17,098,242 ตารางกิโลเมตร)
ประเทศรัสเซียคืออันดับ 1 ของโลกที่มีพื้นที่ใหญ่มากที่สุด คิดเป็นพื้นที่ 11% ของโลกใบนี้ มีขนาดใหญ่มากกว่า 2 เท่าของประเทศบราซิล จึงทำให้รัสเซียมีทั้งหมด 11 ไทม์โซนและติดกับประเทศอื่น ๆ กว่า 14 ประเทศ
นอกจากนี้รัสเซียก็อยู่ติดกับมหาสมุทรกว่า 3 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น แอตแลนติก, อาร์ติก และแปซิฟิก ในขณะที่แม่น้ำของประเทศนี้มีอยู่กว่า 1 แสนแม่น้ำ ซึ่งหนึ่งในนั้นจะมีทะเลสาบไบคาลที่ถือว่าเป็นแม่น้ำลึกอันดับหนึ่งของโลก อย่างไรก็ดีพื้นที่กว่า 60% ของรัสเซียไม่สามารถจะอยู่อาศัยได้ครับ เนื่องจากชั้นดินเยือกแข็งเกิดการละลายตัว
2. แคนาดา (พื้นที่ 9,984,670 ตารางกิโลเมตร)
พื้นที่ในประเทศ ‘แคนาดา’ ครอบคลุมกว่าครึ่งนึงของซีกโลกเหนือ โดยในทิศตะวันออกไปจนถึงทิศตะวันตกครอบคลุมไปแล้วกว่า 7,560 กิโลเมตรของอเมริกาตอนเหนือ ส่วนไทม์โซนจะมีมากถึง 6 ช่วงเวลาเลยละครับ
แม้ว่าประเทศจะกว้างใหญ่ไพศาลแต่ในความเป็นจริงแล้วประชาชนในประเทศนี้มีเพียงแค่ 38.7 ล้านคน เป็นเพียงแค่ 0.5% ของประชากรทั่วโลกเท่านั้น โดยพื้นที่ในแคนาดาจะเป็นป่าเยอะมากมีสัตว์มากมาย อย่างเช่น กวางมูส, ควายไบซัน, บีเวอร์, วาฬเพชฌฆาต หรือ หมีขาว ส่วนแนวชายฝั่งก็ยาวมากที่สุดของโลก และมีน้ำตกดังระดับโลกอย่างน้ำตกไนแอการา ด้วยความสมบูรณ์มาก ๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจเจอธรณีวิทยาใหม่ ๆ มากมายในประเทศนี้
3. จีน (พื้นที่ 9,706,961 ตารางกิโลเมตร)
‘จีน’ เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และ อันดับ 3 ของโลก ทั้งนี้ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่มหาศาลทำให้มีผู้คนอาศัยอยู่ในประเทศนี้มากกว่า 1,425 พันล้านคน ก่อนหน้านี้จีนเป็นอันดับหนึ่งที่มีประชากรมาากที่สุดของโลก แต่ในตอนนี้อยู่อันดับสองรองจากอินเดียเนื่องจากประชากรในประเทศมีอัตราการตั้งครรภ์และกำเนิดบุตรน้อยลงมาก ในแง่ของประวัติศาสตร์ประเทศจีนถือได้ว่าค่อนข้างจะเก่าแก่ เนื่องจากเริ่มต้นก่อตั้งเป็นประเทศตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสต์ศักราช มีสิ่งก่อสร้างโบราณอย่างกำแพงจีนและราชวังเก่าให้รับชมความสวยงาม นอกจากนี้พื้นที่ทางธรรมชาติก็จัดได้ว่าอุดมสมบูรณ์ มีทั้งแม่น้ำแยงซีซึ่งมีความยาวเป็นอันดับ 3 ของโลก และ ภูเขาเอเวอเลสต์ที่สูงเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วยเช่นกัน
4. สหรัฐอเมริกา (พื้นที่ 9,372,610 ตารางกิโลเมตร)
ประเทศสหรัฐอเมริกามีพื้นที่กว่า 9,372,610 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปอเมริกาเหนือ โดยสหรัฐอเมริกาได้รับอิสรภาพจากประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1776
พื้นที่อันกว้างใหญ่ของประเทศนี้ทำให้ในทางตอนเหนือมีรัฐมากกว่า 50 รัฐ และภาคอื่น ๆ อีกกว่า 48 รัฐประชากรจะมีอยู่ทั้งหมด 340 ล้านคน ส่วนสภาพภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกาจะมีทุกรูปแบบที่มีบนโลกนี้ เพราะฮาวายและฟลอริดาเป็นพื้นที่เขตร้อน รัฐทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นทะเลทราย รวมไปถึงอลาสก้าก็จะเป็นขั้วโลกครับ ดังนั้นไม่ว่าจะฤดูไหนอเมริกาก็มีทั้งหมด เป็นประเทศที่ยังเหลืออีกหลายพื้นที่ให้สำรวจสิ่งใหม่ ๆ
5. บราซิล (พื้นที่ 8,515,767 ตารางกิโลเมตร)
หากเปรียบเทียบกันในทวีปอเมริกาใต้ ‘บราซิล’ จะเป็นอันดับ 1 ที่มีพื้นที่กว้างที่สุด ทั้งนี้หลายคนคงทราบกันดีว่าในประเทศนี้จะมีป่าและแม่น้ำอเมซอนขนาดใหญ่มหาศาล อย่างแม่น้ำอเมซอนที่เป็นแม่น้ำยาวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่วนลุ่มน้ำจะปกคลุมกว่าพันไมล์ในทางตอนเหนือของประเทศ ส่วนป่าอเมซอนซึ่งเป็นป่าฝนมีพื้นที่กว่า 4,600 ไมล์ นอกจากอเมซอนแล้ว ‘บราซิล’ เองก็เก่งมากในเรื่องของฟุตบอล เพราะยังไม่มีประเทศไหนสามารถชนะฟุตบอลโลกได้เท่ากับบราซิล ที่ชนะมาแล้วถึง 5 ครั้ง ส่วนทางด้านของจำนวนประชากรในประเทศจะมีอยู่ทั้งหมด 216.35 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดของในทวีปอเมริกาใต้
6. ออสเตรเลีย (พื้นที่ 7,692,024 ตารางกิโลเมตร)
ออสเตรเลียจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีธรรมชาติอันสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีชายฝั่งและป่าฝนซึ่งกินพื้นที่ไปกว่า 34,000 กิโลเมตร และ 1 ใน 3 ของพื้นที่ในประเทศเป็นทะเลทรายครับ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสัตว์อันตรายและสัตว์ป่าหายากจึงอยู่ในออสเตรเลียแทบทั้งหมด อย่างเช่น จระเข้น้ำเค็ม, งูสีน้ำตาลตะวันออก และแมงกะพรุนมีพิษอันตราย ในขณะที่สัตว์ป่าเฉพาะซึ่งมีเพียงแค่ในประเทศออสเตรเลียก็จะมีโคอาล่าและจิงโจ้นั่นเองค่ะ ส่วนความหนาแน่นของจำนวนประชากรถือว่าค่อนข้างจะเบาบาง เนื่องจากมีประชากรเพียงแค่ประมาณ 26.5 ล้านคน เป็นรองเพียงแค่ ‘คาซัคสถาน’ ในเรื่องของประชากรที่น้อยแต่พื้นที่กว้างใหญ่ติดอันดับ 6 ของโลก
7. อินเดีย (พื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร)
อินเดียมาในอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชียที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด เป็นประเทศซึ่งถูกปกคลุมทะเลกว่าสี่ทิศ แม้ว่าอินเดียจะไม่ใช่ประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ประชากรที่อาศัยในประเทศมีมากกว่า 1.43 พันล้านคน ซึ่งถือได้ว่าเยอะเป็นอันดับหนึ่งของโลก ณ ตอนนี้ เนื่องจากอินเดียมีสภาพแวดล้อมที่หลากหลายอย่างทะเลทรายจะอยู่ทางทิศตะวันตก ป่าฝนอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และแม่น้ำคงคาตั้งอยู่ในทางตอนเหนือ ดังนั้นสภาพอากาศของประเทศจะมีความแปรปรวนเล็กน้อย บางครั้งในช่วงเช้าอากาศจะร้อนเหมือนกับอยู่ในช่วงซัมเมอร์ แต่ไม่นานก็จะรู้สึกเย็นเหมือนกับอยู่ในฤดูหนาว ในขณะเดียวกันอินเดียยังเป็นประเทศที่ฝนตกชุกมากที่สุดของโลกอีกด้วยค่ะ
8. อาเจนตินา (พื้นที่ 2,780,400 ตารางกิโลเมตร)
‘อาเจนตินา’ มีพื้นที่ทั้งหมด 2,780,400 ตารางกิโลเมตร โดยประเทศนี้ถือได้ว่าเป็นที่รู้จักกันค่อนข้างมาก เพราะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนักฟุตบอลเก่งระดับโลกอยู่หลายคน เรียกได้ว่าเป็นประเทศระดับท็อป 8 ของโลกที่มีความเก่งทางด้านกีฬาฟุตบอล
ประชากรในประเทศนี้มีทั้งหมด 45.75 ล้านคน และได้รับอิสระจากสเปนในปี 1816 โดยหลังจากได้รับอิสระอาเจนตินาก็เริ่มมีชื่อเสียงกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก นอกจากฟุตบอลแล้วยังมี หาดอันสวยงาม, เทือกเขาแอนดีส, น้ำตก และ อุทยานแห่งชาติ Talampaya ที่นักท่องเที่ยวอยากไปกันสักครั้งในชีวิต
9. คาซัคสถาน (พื้นที่ 2,724,900 ตารางกิโลเมตร)
‘คาซัคสถาน’ มีพื้นที่กว่า 2,724,900 ตารางกิโลเมตร ความใหญ่ของประเทศนี้ครอบคลุมตั้งแต่เอเชียกลางไปจนถึงยุโรปตะวันตกบริเวณเขตแม่น้ำอูราล
แม้ว่าประเทศนี้จะติดเป็นอันดับ 9 ที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของโลก แต่จำนวนประชากรถือว่าเบาบางมาก ๆ เนื่องจากมีประชากรอาศัยอยู่เพียงแค่ 19.6 ล้านคนเท่านั้น คาซัคสถานได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียตในปี 1991 หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองและการกดขี่มานานหลายปี เมื่อได้รับอิสระก็มีประชากรจำนวนมากกลับเข้ามาอยู่ในประเทศของตนเอง ความพิเศษของประเทศนี้คือจะมีภูเขา, หุบเขา และหินสำริดที่ผ่านการแกะสลักจากผู้คนในอดีต แต่ประเทศนี้จะไม่มีทางออกไปสู่ทะเล เนื่องจากถูกปกคลุมด้วยภูเขานั่นเองค่ะ
10. แอลจีเรีย (พื้นที่ 2,381,741 ตารางกิโลเมตร)
ประเทศ ‘แอลจีเรีย’ ซึ่งประเทศนี้มีพื้นที่กว่า 2,381,741 ตารางกิโลเมตร แอฟริกาเหนือได้กลายเป็นรัฐเอกราชในปี 1962 หลังจากเกิดสงครามและถูกทางฝรั่งเศสยึดประเทศไปนานกว่า 8 ปี โดยก่อนจะได้รับอิสระผู้คนในประเทศแอลจีเรียต้องทนกับระบบการปกครองจากต่างชาติเป็นเวลานับศตวรรษ หากย้อนกลับไปแล้วน่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 โดยประชากรภายในประเทศแอลจีเรียมีทั้งหมด 45.5 ล้านคน นอกจากนี้แอลจีเรียเองก็มีชื่อเสียงทางด้านสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศเนื่องจากตั้งอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน, ทะเลทรายซาฮารา และยังมีศิลปะทางประวัติศาสตร์ยุคหินอย่าง ‘Tassili n’Ajjer’ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นมรดกเมื่อปี 1986