ในสังคมปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพของประชากรในประเทศเป็นอย่างมากเลยนะคะ ส่งผลให้หลายประเทศต้องพบกับอัตราประชากรวัยเจริญพันธุ์ที่ลดลง ประชากรสูงวัยและอายุยืนมากขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งหากไม่ได้เตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้แล้ว ก็จะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจ และคุณภาพประชากรจะลดลง และเพิ่มโอกาสอัตราอาชญากรรมในสังคมให้เพิ่มขึ้นได้อีกด้วยนะคะ เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าประเทศไหนที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก
10 อันดับประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก
1. ประเทศอินเดีย 1,428 ล้านคน
อัตราการเติบโตของประชากรอินเดีย ลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้น ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง เว็บไซต์ Worldometer คาดการณ์ว่า อินเดียจะมีจำนวนประชากรสูงสุดที่ 1,650 ล้านคน ภายในปี 2603 หรืออีกไม่เกิน 40 ปีข้างหน้า
2. ประเทศจีน 1,425 ล้านคน
หลังจากจำนวนประชากรจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ทำให้รัฐบาลจีนต้องประกาศ “นโยบายลูกคนเดียว” เพื่อจำกัดการเติบโตของประชากร มีการให้รางวัลคู่สามีภรรยาที่ตกลงจะมีลูกคนเดียว ด้วยโบนัสเงินสดและระบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น จนจีนสามารถลดอัตราการเกิดของเด็กได้ถึง 1.3 คนต่อแม่ 1 คน
แต่นโยบายนี้ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าอัตราการเกิดต่ำของจีน ประกอบกับจำนวนประชากรสูงอายุ จะทำลายการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตของจีนได้
3. ประเทศสหรัฐอเมริกา 340 ล้านคน
สหรัฐฯ มีความแตกต่างจากอินเดียและจีน เพราะมีการเติบโตของจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่อง แบบที่ไม่สามารถคาดการณ์ถึงอัตราที่ลดลงได้ คาดการณ์ว่าในปี 2610 สหรัฐฯ จะมีประชากรมากกว่า 400 ล้านคน สาเหตุไม่ได้มาจากอัตราการเกิด แต่มาจากการอพยพย้ายถิ่นฐานนั่นเองค่ะ
4. ประเทศอินโดนีเซีย 277 ล้านคน
ในปี 2556 พบว่า ประชากรของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายในเวลาเพียง 40 ปี
จาก 119 ล้านคนในปี 2514 เป็นเกือบ 240 ล้านคนในปี 2553 สำนักงานสถิติกลางคาดการณ์ว่า ในอีก 40 ปีข้างหน้า (ปี 2593) คาดว่าประชากรของประเทศจะสูงขึ้นเป็น 317 ล้านคน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ เป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ด้านคุกคามการเติบโตและการพัฒนาที่ช้าลง
5. ประเทศปากีสถาน 240 ล้านคน
ระหว่างปี 2541-2560 อัตราการเติบโตของประชากรโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 มีจำนวนผู้หญิงปากีสถานน้อยมากที่ถูกคุมกำเนิด จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นสร้างความล้มเหลวต่อระบบสาธารณสุข และระบบการศึกษาอย่างมาก และยังส่งผลให้มีคนตกงานอีกหลายล้านคน คาดการณ์ว่าหากปากีสถานยังเพิ่มจำนวนประชากรด้วยอัตราเช่นนี้ จะใช้เวลาอีกเพียง 25 ปีเท่านั้น จะแซงหน้าอินโดนีเซีย ด้วยจำนวนประชากร 331 ล้านคน
6. ประเทศไนจีเรีย 223 ล้านคน
ไนจีเรียนับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา ณ ปัจจุบัน อัตราการเกิดอยู่ที่ 3.7 ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงกว่ามาตรฐานมาก กองสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ เคยคาดการณ์ว่า ด้วยอัตราการเกิดของไนจีเรียเช่นนี้ จะทำให้ประชากรไนจีเรียแซงหน้าสหรัฐฯ ด้วยจำนวน 380 ล้านคน ขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลกในปี 2590 รัฐบาลไนจีเรียพยายามอย่างมากที่จะลดจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ มีการเสนอการคุมกำเนิดฟรีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ให้เงินทุนกับครอบครัวขนาดเล็กเป็นหลักประกันในอนาคต
7. ประเทศบราซิล 216 ล้านคน
อัตราการเพิ่มประชากรบราซิลลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2494 อัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.02 และในปี 2562 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.72 สาเหตุมาจากเพศหญิงในบราซิลจำนวนมากถูกต้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ไม่มีเวลาครอบครัว มีการประเมินว่าแนวโน้มอัตราการเกิดที่ลดลงเช่นนี้ จะทำให้สังคมบราซิลเผชิญกับผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และนำไปสู่อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นตามมา
8. ประเทศบังกลาเทศ 172 ล้านคน
ช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดของบังกลาเทศอยู่ที่ร้อยละ 3.23 แต่ลดลงจนเหลือร้อยละ 1 หรือแม่ 1 คนจะให้กำเนิดลุกเพียง 1 คนตลอดช่วงชีวิต เหตุผลคือ มีการใช้การคุมกำเนิดมากขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ บังกลาเทศยังมีอัตราการแต่งงานในเด็ก วัยรุ่นที่สูงอยู่ ประชากรที่แต่งงานอายุน้อยที่สุดอยู่ที่อายุ 15 ปี มากถึงร้อยละ 34 ขณะที่หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไปที่แต่งงานมีเพียงร้อยละ 5
9. ประเทศรัสเซีย 144 ล้านคน
ในช่วง 15 ปี (พ.ศ.2536-2551) ประชากรรัสเซีย มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จาก 148 ล้านคน เป็น 143 คน ในช่วงนั้น รัสเซียมีอัตราการเกิดที่ต่ำและอัตราการเสียชีวิตสูงผิดปกติ ปัจจุบันรัสเซียถือเป็นอีกประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำมาก อยู่ที่ร้อยละ 1.58 วลาดิเมียร์ ปูติน ปธน.รัสเซียต้องเปิดแผนขยายจำนวนประชากร โดยลดการอพยพและเพิ่มอัตราการเกิดให้สูงขึ้น สร้างแรงจูงใจจ่ายเงิน 10,000 ดอลลาร์สำหรับแม่ที่มีลูกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
10. ประเทศเม็กซิโก 128 ล้านคน
ปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรเม็กซิโกอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราการแต่งงานลดลง และจำนวนการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในเม็กซิโกอยู่ที่ร้อยละ 0.58 นั่นหมายถึง เม็กซิโกมีอัตราการเติบโตของประชากรที่ช้า และจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของผู้สูงวัยเม็กซิโกอยู่ที่ 60 ปี
สำหรับประเทศไทยเรานั้น ก็ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มรูปแบบแล้วนะคะ โดยปี 2566 ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ไทยมีประชากรผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 13 ล้านคน ของประชากรไทยทั้งประเทศ 66,057,967 คนค่ะ