หลังจากผ่านพ้นช่วง เทสกาลสงกรานต์กันมาหมาดๆแล้ว ก็มาตามติดสถานการณ์การติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่กันต่อเลยนะคะ เพราะล่าสุดในไทยเรานั้น พบผู้ป่วยสายพันธุ์นี้แล้วถึง 27 รายแล้วนะคะ

ทางมหาวิทยาลัยแห่งโตเกียวได้ออกมาเตือนว่า โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือ “อาร์คตูรุส” นั้น มีศักยภาพจะแพร่ระบาดไปทั่วโลกในอนาคตอันใกล้นี้ได้เลยนะคะ มีการพบการกลายพันธุ์ย่อย ๆ ของโควิดสายพันธุ์นี้ และผู้เชี่ยวชาญในไทยยัง คาดว่า สายพันธุ์ XBB.1.16 นี้ จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทย เช่นเดียวกับทั่วโลก ในอีกไม่นานนี้อีกด้วยค่ะ

 

 

กรมควบคุมโรคได้เปิดเผย ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ช่วงสงกรานต์ (9-15 เม.ย.) พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 435 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย ถือว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าจากสัปดาห์ก่อนหน้ากันเลยค่ะ
มีรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบ 30 ราย และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 19 ราย เพิ่มขึ้น 58% และ 36% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยสัปดาห์ล่าสุด มีรายงานผู้เสียโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 “อาร์คตูรุส” เสี่ยงกลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทยและทั่วโลกหรือไม่?ชีวิต 2 ราย และล้วนเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วนานเกินกว่า 3 เดือนนะคะ เพราะฉะนั้น จึงเรียกร้องให้กลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั่นเองค่ะ เพื่อป้องกันความเสี่ยง และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตค่ะ

 

 

กรณีการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์โควิด XBB.1.16 ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกนี้ พบเชื้อแล้วใน 29 ประเทศนะคะ โดยเฉพาะประเทศอินเดีย เชื้อสายพันธุ์ล่าสุดนี้ มีความสามารถในการติดต่อสูงกว่าเชื้อสายพันธุ์ในอดีต จึงเป็นที่จับตาขององค์การอนามัยโลกนั่นเองค่ะ

แต่ข้อมูลขณะนี้พบว่า อาการไม่ได้รุนแรงเพิ่ม ทั้งนี้ ฐานข้อมูล GISAID มีรายงานการตรวจพบสายพันธุ์นี้ในประเทศไทย 6 ราย จากที่มีรายงานทั่วโลกเกือบ 3 พันราย
สำหรับผู้ป่วยในไทยนั้น จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ อยู่ในวัยทำงาน และอาการป่วยไม่รุนแรงค่ะ

 

ส่วนอาการสำคัญของ XBB.1.16 ที่ประเทศอินเดีย พบว่าว่ามี “เยื่อบุตาอักเสบ” ซึ่งยังไม่พบในผู้ป่วยในไทยเรานะคะ โดยในตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า XBB.1.16 จะมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อื่น ส่วนการกลายพันธุ์ ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ทางกรมควบคุมโรคก็ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก และขอให้มารับวัคซีนโควิด ถ้าหากฉีดเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน แล้วนะคะ

 

อาการโควิด “XBB.1.16” ที่สังเกตได้ทั่วๆไป คือ

 

 

* ไข้สูง 
*  เป็นหวัด 
* มีอาการไอ 
*  จากนั้นจะเกิดเยื่อบุตาอักเสบ คันตา 
* ขี้ตาเหนียว 
* ลืมตาไม่ขึ้น 

ซึ่งโควิดสายพันธุ์หลักในไทยเวลานี้ คือ XBB.1.5 โดยสัดส่วนสายพันธุ์ต่าง ๆ ของโอมิครอนที่กำลังระบาดในไทย จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก หรือ GISAID มีดังนี้
XBB.1.5 – ประมาณ 47%
XBB.1.9.1 ประมาณ 27%
XBB.1.16 ประมาณ 13%
XBB.1.5.7 ประมาณ 7%
XBB.1.16.1 ประมาณ 7%

หากนับโควิดทุกสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในไทย โควิด XBB.1.16 คิดเป็น 3% ของผู้ป่วยเท่านั้นค่ะ ในช่วงวันที่ 1 ก.พ.–16 เม.ย. จากการถอดรหัสพันธุกรรม 410 ตัวอย่างนั่นเองค่ะ ต่อไปเรามาทำความรู้จัก กับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวนี้กันต่อนะคะ

 

ทำความรู้จักโควิด XBB.1.16

 

 

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.1.16 หรือที่เรียกว่า “อาร์คตูรุส” เป็นสายพันธุ์ย่อยของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั่นเองค่ะ โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า กำลังสังเกตการณ์สายพันธุ์นี้ เพราะ “มีศักยภาพสูงทำให้จำเป็นต้องเฝ้าระวังให้ดี”

โควิด XBB.1.16 ตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือน ม.ค. 2566 ก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะขึ้นบัญชีเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมานะคะ
โควิดสายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่างสายพันธุ์ BA.2.10.1 และ BA.2.75 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์หลักคือ โควิดโอมิครอน BA.2 นั่นเองค่ะ

องค์การอนามัยโลก ได้ทำการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 ว่า ตรวจพบผู้ป่วยสายพันธุ์ XBB.1.1.16 แล้วกว่า 800 คน ใน 22 ประเทศ ส่วนใหญ่พบในอินเดีย และแทนที่สายพันธุ์ที่กำลังระบาดในปัจจุบันอื่น ๆ ก่อนที่จะเพิ่มเป็นกว่า 3,000 คนทั่วโลก จนถึงกลางเดือน เม.ย. 2566 นี้ค่ะ

 

คุณลักษณะของโควิด XBB.1.16

 

 

– มีคุณลักษณะคล้ายสายพันธุ์ XBB.1.5
– แต่มีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมที่หนามโปรตีน ซึ่งผลการทดลองในห้องแลบพบว่า ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสทำให้เกิดอาการของโรคได้ง่ายขึ้น
– โควิด XBB.1.16 สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ XBB.1 และ XBB.1.5 ราว 1.17-1.27 เท่า
– โควิดสายพันธุ์นี้มีศักยภาพที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ในอนาคตอันใกล้
– โควิดสายพันธุ์นี้ “มีฤทธิ์ต้านทาน” แอนติบอดีโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ม.มหิดล กล่าวว่า “โควิด XBB.1.16 ถือเป็นโควิดสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่สุดในเวลานี้ จากศักยภาพ “หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด เกาะเซลล์ได้ดีที่สุด และกลายพันธุ์ได้ง่าย” โดยมีศักยภาพการติดเชื้อง่ายมากกว่า สายพันธุ์หลักในไทย คือ BN.1.3 ราว 200% และเหนือกว่า XBB.1.5 (สายพันธุ์โอมิครอนหลักในไทย) ถึง 89% อีกด้วยนะคะ

ความรุนแรงของโรคสายพันธุ์ XBB.1 .16 จากอินเดียไม่ได้รุนแรงไปกว่าสายพันธุ์เดิม แต่แพร่ระบาดง่าย เมื่อมีผู้ป่วยจำนวนมากก็ต้องพบผู้ป่วยอาการมากเป็นอัตราส่วนปกติ มีอาการบางอย่างแตกต่างไปบ้าง เช่น ตาแดงในเด็ก
การดูแลรักษา ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จะเฝ้าระวังอันตรายในกลุ่มเสี่ยง 608 และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
สายพันธุ์ XBB ทุกตัว หลบหลีกภูมิต้านทานเดิมได้ดี จึงเป็นแล้วเป็นอีกได้ ภูมิที่เกิดจากวัคซีนที่ใช้ในการลดความรุนแรงของโรค ใช้เพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานชนิดสำเร็จรูป LAAB จะไม่ได้ผลในกลุ่มสายพันธุ์ XBB

เพราะฉะนั้นแล้ว ก็ขอให้ทุกคนดูแลตัวเองและคนในครอบครัวให้ดีนะคะ เว้นระยะห่าง สวมแมส และหมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงที่ที่คนหนาแน่น ใครยังไม่ได้รับวัคซีนก็รีบไปจัดการนะคะ กันไว้ดีกว่าแก้แน่นอนค่ะ ขอให้ทุกคนปลอดภัยนะคะ

ที่มา : https://www.bbc.com/thai/articles/cje5e3z0xz7o