บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง การเปิดให้ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิสำหรับเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เพื่อรับเงินคืนกันนะคะ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวดีสำหรับเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์เลยนะคะ เพราะตอนนี้สามารถลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิเพื่อรับเงินคืนได้แล้ค่ะ

 

 

โดยนายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงประชาชนคนไทยโอนเงินมูลค่าเสียหายนับแสนล้านบาทนั้น ล่าสุดจากข้อมูล พบว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ยึดทรัพย์เป็นของกลางแล้ว ดังนี้ เงินสดรวมได้ประมาณ 6,000,000,000 บาท อสังหาริมทรัพย์อีกจำนวนหนึ่งประมาณ 4,000,000,000 บาท รวมกันแล้วประมาณ 10,000,000,000 บาทเลยทีเดียวค่ะ

สำหรับทรัพย์สินที่ทำการยึดได้จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต้องเฉลี่ยทรัพย์คืนให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หลังจาก ปปง. ยึดทรัพย์มาแล้ว โดยจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ภายใน 90 วัน เพื่อให้ประชาชนมายื่นคําร้องขอรับการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งผู้เสียหายจะได้รับเงินชดใช้คืน ก็ต่อเมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดใช้คืน แทนการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินนั่นเองค่ะ

 

 

สำหรับผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิ ผ่าน 3 ช่องทาง ได้ดังนี้เลยนะคะ

 

 

1. ยื่นด้วยตนเอง ณ สํานักงาน ปปง.

2. ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนส่งถึง สำนักงานป้องกันและปราบการฟอกเงิน เลขที่ 422 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โดยวงเล็บ 2 มุมซองด้านบนว่า “ส่งแบบคําร้องขอ คุ้มครองสิทธิรายคดี….”

3. ยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง https://khumkrongsit.amlo.go.th

สามารถโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-219-3600 หรือ โทร 1710

นายคารม เปิดเผยต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2567 ผลการแจ้งความออนไลน์ ผ่าน https://www.thaipoliceonline.go.th
– รวม 35,379 เรื่อง
– มูลค่าความเสียหายรวม 3,437,689,020 บาท เฉลี่ย 114,589,643 บาทต่อวัน
– ผลการอายัดบัญชี จำนวน 10,713 บัญชี ยอดขออายัด จำนวน 1,404,539,300 บาท ยอดอายัดได้ จำนวน 719,057,785 บาท

 

ขั้นตอนลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิ

 

 

กระบวนการยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

1. กรณีที่สำนักงาน ปปง. จะดำเนินการเปิดรับคำร้องขอคุ้มครองสิทธิฯ ในรายคดี ที่สำนักงาน ปปง. ดำเนินการกับทรัพย์สินของผู้กระทำความผิด โดยคณะกรรมการธุรกรรมมีมติให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิด

2. สำนักงาน ปปง. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องฯ โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก

– เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ratchakitcha.soc.go.th
– เว็บไซต์สำนักงาน ปปง. amlo.go.th

3. สำนักงาน ปปง. เปิดรับคำร้องฯ โดยให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องฯ พร้อมหลักฐาน ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีประกาศฯ ตามช่องทางที่สำนักงาน ปปง. กำหนด โดยผู้ที่ประสงค์จะยื่นคำร้องฯ ต้องเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน โดยพิจารณาข้อมูลของผู้เสียหายเทียบกับข้อมูลในราชกิจจานุเบกษาต้องตรงกัน ดังนี้

– พฤติการณ์กระทำผิดของคนร้าย
– ช่วงเวลาที่มีการกระทำผิด
– เลขคดีอาญาของพนักงานสอบสวน
– ในคดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ชื่อบัญชีหรือเลขบัญชีธนาคารต้องตรงกัน

ทั้งนี้ หากข้อเท็จจริงของผู้เสียหายตรงกับข้อเท็จจริงที่ระบุไว้ในประกาศของสำนักงาน ปปง. แล้วย่อมถือว่าเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อขอรับการคุ้มครองสิทธิได้ แต่หากข้อมูลไม่ตรงแล้ว ย่อมไม่มีฐานะเป็นผู้เสียหายที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องได้ แต่หากข้อมูลไม่ตรงแล้ว ย่อมไม่มีฐานะเป็นผู้เสียหายที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องได้

4. ช่องทางการยื่นคำร้อง มีดังนี้

– ยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงาน ปปง. หรือสถานที่อื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
– ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน จ่าหน้าซองมาที่สำนักงาน ปปง. เลขที่ 422 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
– ยื่นผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่สำนักงาน ปปง. กำหนด https://khumkrongsit.amlo.go.th

 

 

5. หลักฐานประกอบการยื่นคำร้องฯ ประกอบด้วย

5.1 ต้องแนบหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

– สำเนาคำพิพากษาให้มีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย
– สำเนาหลักฐานการร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีอาญา
– สำเนาหลักฐานการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย

5.2 หลักฐานอื่นตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดและภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด (ดูได้จากประกาศราชกิจจานุเบกษา)

6. สำนักงาน ปปง. ตรวจสอบคำร้องฯ และจัดทำความเห็นเกี่ยวกับความเสียหาย เสนอเลขาธิการ ปปง. เพื่อเสนอคณะกรรมการธุรกรรมมีความเห็น

7. เลขาธิการ ปปง. ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ คุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย

ทั้งนี้ ผู้เสียหายจะได้รับเงินชดใช้คืนเมื่อศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดใช้คืนแทนการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

 

 

 

 

ที่มา : สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปปง.