บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ เคล็ดลับ “ วิธีแก้ผมหงอกก่อนวัย “ ทำได้ไม่ยากกันนะคะ เผยเคล็ดลับวิธีแก้ผมหงอกก่อนวัย ด้วยวิธีนี้ทำได้ไม่ยาก และดีต่อสุขภาพ การมีเส้นผมที่เงางาม นุ่มสลวย สะอาดเพียงแค่นี้ก็ทำให้หญิงสาว ชายหนุ่มมีบุคลิกภาพดีกันแล้วนะคะ และเส้นผมยังช่วยในการปกป้องความร้อนและความเย็น ป้องกันแสงแดด ตัวก่อเหตุมะเร็งผิวหนัง รวมทั้งป้องกันแมลงต่างๆ ได้อีกด้วยค่ะ

 

 

 

 

โดยปกติแล้ว เส้นผมของคนเราตั้งแต่เกิดนั้นมีมากกว่าหนึ่งแสนเส้น และจำนวนรากผมที่เยอะที่สุดจะเป็นช่วงแรกเกิด แต่เมื่อเรามีอายุมากขึ้นเซลล์รากผมจะค่อยๆ ลดน้อยลงไป และสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้กับหลายคนนั่นก็คือ “ผมหงอก” นั่นเองค่ะ เพราะหงอกคือตัวบ่งชี้ความหนุ่มแก่ และอาจทำลายความมั่นใจได้อีกด้วยค่ะ สำหรับอายุเริ่มต้นผมหงอกจะมีความต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยของคนเอเชียมักเริ่มมีผมหงอกตั้งแต่อายุก่อน 40 ปี ส่วนคนผิวขาวมักพบผมหงอกก่อนคนเอเชีย คือเฉลี่ยที่อายุประมาณ 35 ปี จึงเชื่อได้ว่าพันธุกรรมมีส่วนสำคัญกับภาวะผมหงอกก่อนวัยอย่างมีนัยสำคัญนะคะ

โดยในกลุ่มคนผมหงอกก่อนวัย มักพบปัญหาเดียวกันในบิดาหรือมารดา ในเพศชายมักพบผมหงอกบริเวณจอนและขมับ ก่อนจะเริ่มพบกระจายบริเวณกระหม่อม และพบผมหงอกน้อยบริเวณท้ายทอย ส่วนในเพศหญิงมักเริ่มพบผมหงอกบริเวณไรผมก่อนบริเวณอื่นค่ะ

 

ส่วนสาเหตุที่เร่งให้เกิดผมหงอก นอกจากธรรมชาติของเส้นผมแล้ว ยังมีสาเหตุหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เร่งให้เกิดผมหงอก ได้แก่

 

 

– การสูบบุหรี่ เกิดสารอนุมูลอิสระซึ่งทำลายเซลล์โดยตรง

– การดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

– ยาหลายชนิด และโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไทรอยด์ชนิดเกรฟ (Graves disease) โรคผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis)

– ภาวะผิดปกติของภูมิต้านทาน

– โรคโลหิตจางชนิดขาดวิตามิน B12

– โรคไตเรื้อรัง

– โรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคด่างขาว นอกจากทำให้ผิวหนังบริเวณที่เป็นโรคไม่มีสี มีลักษณะขาวซีดเป็นวงแล้ว เส้นผมบริเวณดังกล่าวมักกลายเป็นผมหงอกไปด้วย

 

เคล็ดลับ “ วิธีแก้ผมหงอกก่อนวัย “ ทำได้ไม่ยาก

 

 

 

1. งานวิจัยพบว่า การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดผมหงอกก่อนวัย ดังนั้นควรงดสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสียหายต่อเซลล์สร้างเม็ดสีในรากผม

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยป้องกันการขาดสารอาหารของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินมี 12 โอเมก้า 3 ธาตุเหล็ก ทองแดง และสังกะสีสูง เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ตับ ไข่ นมไขมันต่ำ ผักใบเขียว ถั่วและธัญพืชชนิดต่าง ๆ

3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือสงสัยว่ามีอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผมหงอกก่อนวัย เช่น โรคทางพันธุกรรมบางชนิด โรคไพบอลดิซึมกลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก โรคด่างขาว โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง หรือโรคไทรอยด์ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย