บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ การเกาะติดน้ำท่วมล่าสุดจากเว็บไซต์ของ Gistda กันนะคะ เกาะติดน้ำท่วมล่าสุด และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติอื่น ๆ ทั้งไฟป่า และภัยแล้งด้วยตัวเองจากเว็บไซต์ของ Gistda พร้อมข้อมูลอื่นๆ ที่เข้าใจง่าย

 

 

ขณะนี้สถานการณ์นํ้าท่วมยังวิกฤติในหลายพื่นที่เลยนะคะ ขณะเดียวกันนั้นผู้คนที่อาศัยอยู่ในตอนล่างก็กังวลว่าจะได้รับผลกระทบ จนมีหลายๆ คนพูดกันว่าอาจเกิดนํ้าท่วมใหญ่แบบเดียวกันกับที่เกิดในปี 2554 ซึ่งการติดตามสถานการณ์นํ้าท่วมก็มักจะติดตามกันจากข่าว ถึงแม้ว่าจะทำให้เราเห็นภาพจากเหตุการณ์จริง แต่เราก็ไม่รู้ถึงภาพรวมของสถานการณ์ทั้งหมดได้เลย ดังนั้นเราสามารถติดตามสถานการณ์นํ้าท่วมในภาพรวมได้จากเว็บไซต์ของ Gistda กันได้นะคะ ซึ่งข้อมูลจาก เว็บไซต์ของ Gistda นั้นจะแสดงผลเป็นรูปแผนที่ประเทศไทย ทำให้เข้าใจง่าย โดยข้อมูลเหล่านี้จะรวบรวมมาจากภาพถ่ายดาวเทียม และนอกนี้ยังมีข้อมูลอื่นให้เราติดตามได้ด้วยยกตัวอย่างเช่น

• พื้นที่ทั้งหมดที่ถูกน้ำท่วม
• ประชากรโดยประมาณที่ได้รับผลกระทบ
• จำนวนหลังคาเรือนที่ได้รับผลกระทบ
• ประเภทของการเกษตรที่ได้รับผลกระทบ
• 5 จังหวัดที่มีนํ้าท่วมมากที่สุด

โดยภาพและข้อมูลเหล่านี้จะรวบรวมจากข้อมูลย้อนหลังในช่วง 30 วันที่ผ่านมานะคะ

 

 

นอกจากนี้ทางเว๊ปไซต์ยังมีรายงานของภัยพิบัติอีกสองประเภทได้แก่ ไฟป่า และภัยแล้ง สำหรับไฟป่าจะมีการแสดงจุดความร้อน (Hotspot) ในรอบ 30 วัน โดยจุดความร้อนนี้แบ่งออกเป็น MODIS และ VIIRS ซึ่งมีความแตกต่างกันจากเซนเซอร์ของดาวเทียม

– เซนเซอร์ MODIS (Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer) มีขนาดจุดภาพ 1 กิโลเมตร เท่ากับว่าครอบคลุมพื้นที่ 1×1 กิโลเมตร หรือ 1,000 x 1,000 เมตรบนพื้นโลกจริง

– เซนเซอร์ VIIRS (Visible Infrared Imaging Radiometer Suite) มีขนาดจุดภาพ 375 เมตร ก็เท่ากับว่าครอบคลุมพื้นที่ 375 x 375 เมตรบนพื้นโลกจริง

นอกจากนี้ยังมีข้อมูล 5 จังหวัดที่มีจุดความร้อนมากที่สุดอีกด้วย

 

 

 

สำหรับภัยแล้ง มีการแสดงข้อมูลของดัชนีภัยแล้ง ในรอบ 30 วันด้วยค่าเฉลี่ย NDVI และค่าเฉลี่ย NDWI ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

– ค่าเฉลี่ย NDVI (Normalized Difference Vegetation Index) หรือ ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ คำนวนจากการคำนวณค่าการสะท้อนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากพืชไปยังดาวเทียม

– ค่าเฉลี่ย NDWI (Normalize Difference Water Index) เป็นค่าดัชนีที่ใช้ในการตรวจสอบระดับความชื้นในดินหรือพืชพรรณ จากปริมาณรังสีของดวงอาทิตย์ที่สะท้อนมาจากดินหรือพืชพรรณในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (NIR) และช่วงคลื่นสีเขียว (Green)

 

 

นอกจากนี้ยังมีข้อมูล 5 จังหวัดที่มีดัชนีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง DRI (Drought Risk Index: DRI) มากที่สุด ซึ่งเป็นชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ได้มาจากการคำนวณร่วมกันระหว่างข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียมเช่น ดัชนีพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index : NDVI), ดัชนีอุณหภูมิพื้นผิว (Land Surface Temperature : LST), ดัชนีเงื่อนไขอุณหภูมิ (Temperature Condition Index : TCI), ดัชนีเงื่อนไขพืชพรรณ (The Vegetation Condition Index : VCI), ดัชนีความสมบูรณ์ของพืชพรรณ (Vegetation Health Index : VHI) เป็นต้น

 

 

ที่มา : disaster.gistda.or.th