ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจาการติดเชื้อ Influenza Virus สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการ สมผัส ไอ จาม หากติดเชื้อแล้ว ก็จะมีอาการเหมือนเป็นหวัด มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งในแต่ละคนจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไปนะคะ
– ในคนที่มีร่างกายแข็งแรงภูมิคุ้มกันดี หากป่วยแล้วอาจมีอาการไม่มาก
– แต่หากเกิดขึ้นในเด็ก หรือผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจมีอาการรุนแรง หรือมีอาการแทรกซ้อน ซึ่งอันตรายอาจถึงเสียชีวิตได้ค่ะ
จากรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่มีจำนวนสูงกว่า 5 ปีย้อนหลัง โดยพบผู้ป่วยมากสุดในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 0-4 ปี รองลงมา คือเด็กวัยเรียน อายุ 5-9 ปี นะคะ
และในตอนนี้ ทางสถาบันโรคภูมิแพ้ และโรคติดเชื้อสหรัฐฯ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases – NIAID) ได้ประกาศเริ่มทดลองวัคซีน H1ssF-3928 mRNA-LNP ซึ่งเป็น วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ mRNA โดยที่ยังอยู่ในเฟสแรก แต่ก็นับเป็นก้าวแรก ของการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ mRNA กันเลยนะคะ
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแพลตฟอร์มสำหรับวัคซีนแล้ว H1ssF-3928 ยังเปลี่ยนเป้าหมายอีกด้วยนะคะ โดยไปจับกับโปรตีน hemagglutinin (HA) ของไวรัสที่ส่วนก้าน (stem) แทนที่ ส่วนหัว ซี่งส่วนก้านนี้ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงน้อย ทำให้เป็นไปได้ว่าวัคซีนนั้น จะสามารถป้องกันไวรัสได้หลายสายพันธุ์ จึงไม่ต้องฉีดใหม่ทุกปีเช่นทุกวันนี้นั่นเองค่ะ
โดยการทดลองเฟสแรกนั้น เป็นการทดลองหาโดสที่เหมาะสม เพื่อดูความปลอดภัย และความสามารถ ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ให้กับผู้เข้าร่วมทดลองเท่านั้นนะคะ ทำให้มีผู้เข้าร่วมการทดลองเพียง 50 คนเท่านั้นะค่ะ
– โดย 3 กลุ่มแรกกลุ่มละ 10 คนจะได้รับวัคซีน 10, 25, และ 50 ไมโครกรัมตามลำดับ
– จากนั้นนักวิจัย จะหาโดสที่เหมาะสมแล้วทดลองให้กับกลุ่มที่เหลือ
โดยผู้เข้าร่วมการทดลองนี้ อาจจะเป็นผู้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เดิมก็ได้ค่ะ
แม้ไข้หวัดใหญ่จะเป็นโรค ที่มีมายาวนานแต่ก็ยังคงนับเป็นโรค ที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากเลยนะคะ ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ 294,000 ถึง 518,000 คนต่อปีในช่วง 2002-2011 สำหรับในประเทศไทยเองเมื่อปี 2011 ก็มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่มากกว่า 70 คนต่อประชากร 100,000 คนเลยนะคะ
อาการของไข้หวัดใหญ่
สำหรับอาการของไข้หวัดใหญ่จะมีอาการที่รวดเร็ว และรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดานะคะ และอาการที่พบได้บ่อยได้แก่
– มีไข้สูง 39-40 องศา หนาวสั่น ในเด็กจะเสี่ยงต่อการชักได้
– ปวดหัวมาก
– ไอแห้ง จาม น้ำมูกไหล
– อ่อนเพลียมาก
– ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
– ในเด็กอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย
อาการที่ควรไปพบแพทย์
– มีไข้เกิน 24 ชั่วโมง
– หายใจหอบเหนื่อย
– อ่อนเพลีย ซึม กินไม่ได้
การป้องกันการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่
– เมื่อไอหรือจาม ให้ไอหรือจามใส่กระดาษทิชชู่ หรือข้อพับแขนด้านใน
– ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
– เลี่ยงสถานที่ที่ผู้คนแออัด หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ ต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน
– หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
– หากมีอาการป่วย ควรหยุดเรียน หยุดงาน เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของโรค และเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
– การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่
– การฉีดวัคซีนช่วยป้องกันได้ประมาณ 40 – 60%
– องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ รวมทั้งบุคคลทั่วไป ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
– เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนสายพันธุ์ทุกปีจึงแนะนำให้ฉีดกระตุ้นปีละ 1 ครั้ง
ที่มา – NIH, https://www.xinhuathai.com/high/358022_20230516