บริษัทไอสเปซ (iSpace) ประเทศญี่ปุ่น ได้แถลงผลการสืบสวนการตกของภารกิจมิชชั่น-1 (Mission-1) ของยานฮะกุโต๊ะ-อาร์ (Hakuto-R) ขณะพยายามลงจอดอย่างนุ่มนวล บนพื้นผิวดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 26 เมษายน ปีนี้แล้วนะคะ

 

 

ความคืบหน้าของข่าว ยานสำรวจเอกชนญี่ปุ่น HAKUTO-R ขาดการติดต่อช่วงสุดท้ายก่อนลงจอดบนดวงจันทร์ หลังจากนั้นมีการยืนยันโดยกล้องของ NASA ว่า HAKUTO-R “ตก” ระหว่างลงจอดนั้น ล่าสุดทางบริษัท ispace เจ้าของยานลำนี้ ก็ได้ออกมาเปิดเผยผลสอบสวนอย่างละเอียดเลยนะคะ สรุปว่าปัญหาเกิดจากซอฟต์แวร์ในการวัดค่าความสูงจากพื้นผิวดวงจันทร์นั่นเองค่ะ

รายงานของ ispace บอกว่ายาน HAKUTO-R ได้ทำการลดระดับความสูง เพื่อจะทำการลงจอดบนดวงจันทร์ ตั้งแต่ความสูง 100 กิโลเมตรได้ตามที่ควรจะเป็น ความเร็วตอนนั้นลดเหลือ 1 เมตรต่อวินาที แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อความสูงเหลือ 5 กิโลเมตร ระบบของยานกลับวัดค่าความสูงได้เป็น 0 ซึ่งในขณะนั้นยานอยู่บนพื้นดวงจันทร์แล้วนะคะ ระบบการควบคุมการลงจอดอย่างช้าๆ จึงหยุดทำงาน ส่งผลให้ในระยะ 5 กิโลเมตรนี้ยานจึงร่วงลงอย่างอิสระ (free fall) และกระแทกกับผิวดวงจันทร์ค่ะ

 

 

สาเหตุของปัญหาเกิดจากการเลือกลงจอดที่หลุมอุกกาบาต (crater) ซึ่งตัววัดระยะความสูงทำงานผิดพลาด เพราะสับสนระหว่างขอบหลุมกับก้นหลุมที่มีความสูงต่างกัน 3 กิโลเมตร ส่วนเหตุผลที่ซอฟต์แวร์ทำงานพลาดยังเกิดจากการตัดสินใจเปลี่ยนจุดลงจอด ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการรีวิวความถูกต้องของซอฟต์แวร์แล้ว และการทดสอบแบบซิมูเลเตอร์ในภายหลัง ไม่ครอบคลุมเงื่อนไขเหล่านี้ดีมากพอ ispace บอกว่ายอมรับในความผิดพลาดครั้งนี้ และจะปรับแก้ในซอฟต์แวร์ของภารกิจครั้งถัดไปที่จะมีอีก 2 ครั้งในอนาคตนั่นเองค่ะ

ภารกิจ Mission-1 ของ iSpace เป็นภารกิจเอกชนรายแรกของของโลกเลยนะคะ ที่พยายามจะไปลงจอดที่ดวงจันทร์ เพื่อสำรวจหาแหล่งน้ำในหลุมอุกกาบาตบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ และช่วยให้ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เป็นชาติอาหรับแรกที่ไปดวงจันทร์ โดยจะพารถหุ่นยนต์สำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ชื่อ ราชิด โรเวอร์ (Rashid Rover) ของยูเออี ที่มีน้ำหนักเพียง 10 กก.และติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ของยุโรปไปด้วย และศึกษาว่าทำไมฝุ่นทรายดวงจันทร์ถึงมีความ”เหนียว”ติดยานอวกาศ และชุดนักอวกาศกว่าที่ควรจะเป็น

 

 

ภารกิจ Mission-1 ได้ทะยานสู่ดวงจันทร์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ธค. 2022 ด้วยจรวดแฟลคอน-9 ของสเปซเอ็กซ์ โดยเป็น 1 ในหลายภารกิจภายใต้โครงการอาร์ทีมิส (Artemis Program) ที่นำโดยนาซา ของสหรัฐ ที่จะกลับไปทำงานดวงจันทร์ระยะยาวเพื่อศึกษาต่อยอดไปยังดาวอังคารในอนาคตค่ะ

 

 

และในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ก็มีความพยายามลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกของสองประเทศ คือ เอกชนอิสราเอล กับยานแบเรชีต Beresheet ที่ตกเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์รวนและรีเซตตัวเองขณะกำลังลงจอด ส่วนยานวิกรัม Vikram ของอินเดียก็ปลดร่มชูชีพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปเยอะ และทั้งสองรายก็กำลังพัฒนายานตัวใหม่ เพื่อจะไปลงจอดบนดวงจันทร์ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วยเช่นกันค่ะ

ที่มา: iSpace