บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวเรื่องของ PASSPORT หรือหนังสือเดินทางกันนะคะ มาดูกันค่ะว่าแต่ละสีต่างกันอย่างไรบ้างนะคะ หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นเอกสารที่รับรองสัญชาติของผู้ถือ และเป็นเอกสารแสดงตน (identity) ของผู้ถือ ซึ่งออกให้โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศสำหรับใช้เดินทางระหว่างประเทศนั่นเองค่ะ

หนังสือเดินทางประเทศไทย มี 4 ประเภท ดังนี้

 

 

1. หนังสือเดินทางธรรมดา Ordinary Passport (หน้าปกสีน้ำตาล)

– สำหรับประชาชนทั่วไป มีอายุไม่เกิน 5 และ 10 ปี
– เดินทางได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า 33 ประเทศ

 

2. หนังสือเดินทางราชการ Official Passport (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)

– ใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถใช้ส่วนตัวได้ มีอายุไม่เกิน 5 ปี
– เดินทางได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า 86 ประเทศ

 

3. หนังสือเดินทางทูต Diplomatic Passport (หน้าปกสีแดงสด)

– มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้

1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 3.2-3.8
14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

– มีอายุไม่เกิน 5 ปี เดินทางได้ไม่ต้องขอวีซ่า 86 ประเทศ

 
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว Temporary Passport (หน้าปกสีเขียว)

– หนังสือเดินทางชั่วคราว หนังสือเดินทางพระที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ
– มีอายุไม่เกิน 2 ปี

 

 

และนอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ประเภทพิเศษ ได้แก่

1. หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม

2. หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไป ประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

3. เอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อใช้แทนหนังสือเดินทาง Certificate of Identity (C.I.) ออกให้กรณีฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางแต่หนังสือเดินทางหมดอายุ หรือสูญหาย และไม่สามารถทำหนังสือเดินทางใหม่ได้ทันตามกำหนดที่ต้องเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งนี้ C.I. สามารถใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้เพียงอย่างเดียว และมีอายุใช้งาน 30 วัน หรือตามระยะเวลาที่ผู้ออกกำหนดนับจากวันที่ออก ผู้ที่ถือ C.I. อาจต้องได้รับการพิสูจน์สัญชาติไทยจากกองตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางถึงประเทศไทยด้วย