บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง จีนเปิดตัว “Manus” (มานัส) Autonomous AI Agent ที่ทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาคำสั่งจากมนุษย์ตลอดเวลากันนะคะ บอกเลยนะคะว่า Manus เป็นมากกว่าแชตบอต เพราะ ‘Manus’ เอไอผู้ช่วยจากจีนที่สามารถ คิด วางแผน ดำเนินการเองอัตโนมัติ ตั้งแต่จองตั๋วเครื่องบินถึงวิเคราะห์หุ้น โดยไม่ต้องรอคำสั่งตลอดเวลากันเลยทีเดียวค่ะ พร้อมแล้วตามมาดูความน่าทึ่งจาก Autonomous AI Agent ตัวใหม่นี้กันเลยค่ะ
จีนเปิดตัว “Manus” (มานัส) Autonomous AI Agent ที่ทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาคำสั่งจากมนุษย์ตลอดเวลา
สำหรับ AI ที่ไม่ต้องรอให้สั่งงานก่อน แต่สามารถคิดเอง ตัดสินใจเอง และจัดการทุกอย่างให้ได้โดยอัตโนมัติเลยนั้น อาจจะฟังดูเหงื่อเชื่อนะคะ แต่วันนี้ได้กลายเป็นความจริงแล้วค่ะ เมื่อจีนเปิดตัว “Manus” (มานัส) เอไอตัวแทนอัตโนมัติ (Autonomous AI Agent) ที่ทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาคำสั่งจากมนุษย์ตลอดเวลา
Monica สตาร์ตอัปเอไอสัญชาติจีนที่ก่อตั้งโดย Xiao Hong ในปี 2022 เริ่มต้นจากการพัฒนาส่วนเสริมสำหรับ ChatGPT บนเบราว์เซอร์ Google ก่อนจะต่อยอดสู่การพัฒนา AI Agent ในปัจจุบัน บริษัทได้รับการสนับสนุนทุนจากยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent และ Sequoia Capital China โดยในปี 2023 ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok เคยเสนอซื้อกิจการในมูลค่าประมาณ 1 พันล้านบาท แต่ Xiao Hong ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ก่อนที่ Monica จะปิดการระดมทุนรอบล่าสุดในปลายปี 2024 ด้วยมูลค่าบริษัทที่พุ่งสูงถึง 3.4 พันล้านบาท
Manus เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยอยู่ในช่วงทดสอบเบต้าแบบส่วนตัว จำกัดการเข้าถึงเฉพาะผู้ที่ได้รับเชิญเท่านั้น ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าคิวรอได้ที่เว็บไซต์ Manus.im นะคะ มาดูความแตกต่างจากเอไอทั่วไปอย่าง ChatGPT, Gemini, DeepSeek หรือ Claude ที่รอรับคำสั่ง (Prompt) จากมนุษย์ก่อนเริ่มทำงาน แต่สำหรับ Manus ก้าวไปไกลกว่านั้นเลยนะคะ
ยกตัวอย่าง เช่น หากต้องการให้ช่วยหาห้องพัก Manus ไม่เพียงแค่ค้นหารายการห้องพักเท่านั้น แต่ยังวิเคราะห์แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ อัตราอาชญากรรมในย่านนั้น และแม้กระทั่งพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อประกอบการตัดสินใจแบบองค์รวมอีกด้วยค่ะ
ความสามารถของ Manus สามารถทำงานได้หลากหลายตั้งแต่งานในชีวิตประจำวันไปจนถึงงานที่ซับซ้อน เช่น วางแผนการท่องเที่ยวพร้อมจองตั๋วเครื่องบินให้โดยอัตโนมัติ
1. จัดตารางงาน และจองที่พัก
2. ออกแบบเว็บไซต์ทั้ง UX/UI
3. วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและหุ้น
4. สร้างรายงาน และนำเสนอข้อมูลแบบ Dashboard
ในการคัดกรองประวัติผู้สมัครงาน
Manus ไม่เพียงจัดอันดับผู้สมัคร แต่ยังวิเคราะห์เรซูเมเชิงลึก ดึงข้อมูลทักษะที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกับแนวโน้มตลาดงานปัจจุบัน และสรุปผลว่าใครเหมาะสมกับตำแหน่งมากที่สุด พร้อมส่งมอบรายงานในรูปแบบไฟล์ Excel โดยอัตโนมัติกันเลยทีเดียวค่ะ
การทำงานของ Manus Manus
ใช้สถาปัตยกรรมแบบหลายตัวแทน (Multi-agent architecture) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนหลัก (Executor) ที่ประสานงานร่วมกับตัวแทนย่อยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ตัววางแผน และตัวจัดการความรู้ เมื่อได้รับคำสั่ง Manus จะดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจคำสั่งอย่างถ่องแท้
2. เลือกเครื่องมือหรือ API ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับงานนั้น
3. ดำเนินการตามคำสั่ง
4. ทำซ้ำจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
5. เข้าสู่โหมดรอคำสั่งใหม่
Manus จะเชื่อมต่อกับเครื่องมือ และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สถึง 29 รายการ ทำให้สามารถท่องเว็บ โต้ตอบกับ API รันสคริปต์ และพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ที่สำคัญ Manus ทำงานในสภาพแวดล้อมการประมวลผลเสมือนบนคลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปิดคอมพิวเตอร์หลังจากให้คำสั่งได้ โดย Manus จะทำงานต่อในพื้นหลังและแจ้งเตือนเมื่อเสร็จสิ้นแล้วนั่นเองค่ะ
ข้อถกเถียง และความท้าทาย
แม้ว่า Manus จะมีความสามารถน่าประทับใจ แต่ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับความสามารถที่แท้จริงของมันอยู่เช่นกันนะคะ นักวิจารณ์บางคนเรียกมันว่าเป็นเพียง “โมเดลภาษาขนาดใหญ่อีกตัวที่ทำงานตามสคริปต์ที่เขียนไว้” และอาจจะประสบปัญหาเดียวกับรุ่นอื่นๆ คือ การให้ข้อมูลที่ฟังดูน่าเชื่อถือแต่อาจมีข้อผิดพลาดพื้นฐาน และผู้ใช้บางคนพบว่าเครื่องมือนี้ยังมีข้อบกพร่อง เช่น การทำงานซ้ำไม่สิ้นสุด การให้ข้อมูลที่ผิดพลาด และล้มเหลวในการทำงานพื้นฐาน นอกจากนี้ Manus ยังสร้างคำถามเกี่ยวกับจริยธรรม และการกำกับดูแล เช่น ใครจะรับผิดชอบเมื่อเอไอตัวแทนอัตโนมัติตัดสินใจผิดพลาด และก่อให้เกิดผลกระทบในโลกความจริง อย่างไรเสีย ก็ต้องรอติดตามความคืบหน้าที่จะเกิดขึ้นกันต่อไปนะคะ
ที่มา: Forbes และ Manus