จากกระข่าวในตอนนี้ เกี่ยวกับ การหายไปของ ท่อเก็บสารกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” (Sesium-137) จากโรงงานไฟฟ้าพลังงานไอน้ำแห่งหนึ่งใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และยังค้นหาไม่พบนั้น อาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่ได้สัมผัส กับสารกัมมันตรังสีที่อาจรั่วไหลได้ หากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับด้วยนั่นเองค่ะ ซึ่งล่าสุดตอนนี้ มีแถลงการว่าพบแล้วนะคะ

 

 

ซีเซียม-137 ที่หายไปนั่น มีขนาดสารครึ่งช้อนกาแฟ ค่ารังสีความแรงเท่ากับ 80 มิลลิคูรี (mCi) (วัดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538)

ปัจจุบันเหลือปริมาณอยู่ที่ 41.14 มิลลิคูรี (mCi) อัตราปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 ในปัจจุบัน มีค่าดังนี้

– ที่ระยะ 30 ซม. ประมาณ 1.29 มิลลิซีเวิร์ต (mSv)/ชม.
– ที่ระยะ 60 ซม. ประมาณ 0.12 มิลลิซีเวิร์ต (mSv)/ชม.
– ที่ระยะ 120 ซม. ประมาณ 0.03 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)/ชม.
– ที่ระยะ 180 ซม. ประมาณ 0.01 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)/ชม.

โดยปกติมนุษย์จะได้รับรังสีอยู่ที่ประมาณ 0.00023 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)/ชม. หากระยะปลอดภัยต้องอยู่ห่างประมาณ 9-10 เมตร

หากเหล็กที่คาดว่าหลอมไปแล้ว ยังไม่เคลื่อนย้าย ก็ต้องสั่งปิดโรงงานในระยะ 10 เมตร ไปอีก 2 ปี หรือสร้างโดมครอบไว้ เนื่องจาก ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 30 ปี และตอนนี้ผ่านไปแล้ว 28 ปี ส่วนที่ฟุ้งในอากาศ รังสีเหลือเบาบางมาก เมื่อเทียบกับรังสีที่มนุษย์ได้รับต่อวัน

 

 

 

เกร็ดความรู้ สำหรับค่าการรับรังสีที่เราพบเจอ

– เอกซเรย์กระดูกสันหลัง 1.50 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)
– เอกซเรย์เต้านม 0.40 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)
– เอกซเรย์ปอด 0.10 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)
– เอกซเรย์ฟัน 0.01 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)

แล้วสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 คืออะไร มีอันตรายอย่างไร ส่งผลให้เกิดโรคภัยอะไรได้บ้าง บทความนี้ มีข้อมูลมาฝากค่ะ มาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ

ซีเซียม-137 คืออะไร

ซีเซียม 137 คือ สารไอโซโทปของซีเซียม ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต 30 ปี สลายตัวโดยปล่อยรังสีบีตา และรังสีแกมมา เป็นหนึ่งในผลผลิตการแบ่งแยกนิวเครียส และซีเซียม 137 ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต้องได้รับสารปนเปื้อน เมื่อได้รับเข้าไปจะกระจายไปทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับ และไขกระดูก

 

ประโยชน์จากซีเซียม

ส่วนใหญ่ ซีเซียม 137 จะถูกนำใช้ในงาน หรือเครื่องมือเฉพาะแต่ปริมาณรวมของการใช้ไม่มากนัก มีการใช้ในทางการแพทย์ มาตรวัดกระแสน้ำในท่อโรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานนิวเคลียร์ ดังนี้

1. ใช้ในการผลิต photoelectric cell เพราะเป็นธาตุที่ถูกอิออไนซ์โดยแสงได้ง่าย (เปลี่ยนเป็นอิออนบวกโดยแสงได้อย่างง่ายดาย)

2. ใช้ผลิต cesium vapor thermionic converter
3. ใช้ในระบบการผลิตพลังงานและ magnetohyhrodynamic
4. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาไฮโดรพิเนชันและเชื้อเพลิงจรวด
5. ซิเซียมไฮดรอกไซด์ (CsOH) ใช้เป็นอิเลกโตรไลต์ของเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบด่าง (alkaline stronge batteries)
6. ซีเซียมคาร์บอเนต (Cs2CO3) ใช้ทำแก้วที่ใช้งานเฉพาะ

อันตรายจากซีเซียม

 

 

สารซีเซียม-137 เป็นสารกัมมันตภาพรังสี (radioactivity) หากสัมผัสในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจจะไม่มีผลต่อร่างกายที่ชัดเจน แต่หากสัมผัสในระยะเวลานาน และปริมาณสูงขึ้น จะเริ่มมีผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง ผมร่วง แผลเปื่อย หากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน อาจเกิดพังผืดที่ปอด เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดต้อกระจกขึ้นในนัยน์ตา ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ โดยมีคุณสมบัติดังนี้

• สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (cesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ

• มีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก

• ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทาน ปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับซีเซียมออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

จากกรณีการหายไปของ ซีเซียม-137 ในไทยเรานั้น จะเห็นได้ว่า การควบคุมดูแลซีเซียม-137 ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ไม่รัดกุมเพียงพอนั้น อาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของรังสีไอโซโทป และเกิดการเจ็บป่วยจากรังสีได้ ซึ่งซีเซียมที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา จะถูกเก็บอยู่ในภาชนะโลหะ อาจจะถูกทิ้งปะปนไปกับโลหะเก่า และถูกนำไปหลอม ทำให้เกิดโลหะผสมที่มีกัมมันตภาพรังสีขึ้นมาได้นะคะ

 

 

นอกจากนี้ หากปนเปื้อนลงไปในน้ำ จะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการรับและการสะสม หากสัตว์รับสารรังสีเข้าไปจะเพิ่มความเข้มข้นสะสมในห่วงโซ่อาหาร แต่ยังไม่มีผลยืนยันที่ชัดเจนว่าจะถึงขั้นเปลี่ยนระบบนิเวศน์ใต้น้ำได้

อุบัติเหตุจาก ซีเซียม-137 เคยเกิดที่ไหนบ้างลองมาดูกันค่ะ

 

 

1. บริษัท Acerinox ของสเปน เป็นบริษัทที่ผลิตเหล็กชนิดสเตนเลสสตีล โดยในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1988 เกิดเหตุการที่สาร cesium-137 ได้หลุดปนเข้าไปอยู่ในโรงงานแปรรูปเศษเหล็ก ที่อยู่ในเมือง Los Barrios ทั้งที่โรงงานดังกล่าวมีเครื่องมือในการตรวจจับวัตถุที่อาจเป็นอันตราย แต่ก็ยังมีสารซีเซียม-137 ผ่านเข้าไปได้และถูกหลอมในเตาเผาหนึ่งของโรงงาน จากนั้น ได้เกิด “เมฆกัมมันตรังสี radioactive cloud” ขึ้น และถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศโดยทันที ซึ่งไม่โดนตรวจจับได้จากเครื่องตรวจวัดที่ปล่องไฟของโรงงานนั้น แต่ประเทศอื่นๆ อย่าง ฝรั่งเศส เยอรมันนี ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ และอิตาลี กลับตรวจพบได้ โดยขี้เถ้าที่โรงงานนี้สร้างขึ้น ถูกพบว่ามีระดับของกัมมันตภาพรังสีสูงมาเพียงพอที่จะเป็นอันตรายได้ โดยมีระบบความเข้มข้นของรังสีสูงขึ้นจากปรกติถึง 1 พันเท่า

 

 

2. อุบัติเหตุที่ Goiania accident ที่มีการทิ้งสารกัมมันตรังสีจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำรังสีรักษาจากคลินิกในเมือง Goiania ประเทศบราซิล ทำให้คนเก็บขยะนำไปขายให้กับคนที่รับซื้อ เนื่องจากคิดว่าเป็นของแปลก กรณีนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการได้รับรังสีจำนวนหลายคน

 

 

  3. ในปี 2009 บริษัทซีเมนต์ของประเทศจีน ในจังหวัด Shaanxi ได้รื้อโรงงานผลิตซีเมนต์เก่าที่เลิกใช้แล้ว โดยไม่ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานกับสารรังสี ทำให้ซีเซียม-137 บางส่วนที่ใช้ในเครื่องมือตรวจวัดซีเมนต์ ถูกส่งไปหลอมรวมไปกับโลหะที่ไม่ใช้แล้ว 8 คันรถที่โรงงานหลอมเหล็ก

 

4. ในเดือนเมษายนปี 2011 ก็มีการพบไอโซโทปรังสีเหล่านี้ในฝุ่นควัน (plume) ที่รั่วไหลออกมาจากเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้า Fukushimaประเทศญี่ปุ่น

  5. อุบัติเหตุที่เชอร์โนบิล ในอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเมื่อปี 2005 ซีเซียม-137 เป็นต้นกำเนิดหลักอย่างหนึ่งที่อยู่ในเขตหวงห้ามรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย ซีเซียม-134 (caesium-134) ไอโอดีน-131 (iodine-131) สตรอนเชียม-90 (strontium-90) และซีเซียม-137 (caesium-137) แพร่ออกมาจากการระเบิดขิงเครื่องปฏิกรณ์ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับสูง

 

 

หากสงสัยว่าเจอ “ซีเซียม-137” ควรทำอย่างไร

ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม ให้คำแนะนำว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหาย มีลักษณะเป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว มีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นในและห่อหุ้มด้วยเหล็ก หากยังอยู่ในสภาพเดิมจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม และจากการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหาย ได้หลุดออกจากเครื่องกำบัง จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

 

 

เนื่องจากทีมค้นหายังไม่พบสารซีเซียม – 137 ที่หายไป แม้จะมีการจัดตั้งทีมค้นหาตรวจวัดปริมาณรังสี ตามร้านรับซื้อของเก่าในหลายๆ จุดไปแล้ว ดังนั้นหากเจอวัตถุต้องสงสัย โดยเฉพาะชนิดที่เป็นโลหะ มีสัญลักษณ์รูปใบพัด มีคำเตือนภาษาอังกฤษ Dangerous หรือคำว่า Radio Active และอื่นๆ ขอให้อยู่ให้ห่างและแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ทั้งนี้หากบังเอิญว่ามีการสัมผัสโดยไม่รู้ตัว ให้ถอดเสื้อผ้า ชำระร่างกาย นำเสื้อผ้าชุดนั้นใส่ถุงมัดปากไว้ในที่ปลอดภัยห่างไกล แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบปริมาณรังสีและเพื่อนำไปทำลายต่อไป