นวดไทย นวดแผนไทย หรือ นวดแผนโบราณ เป็นการศาสตร์การรักษาโรคชนิดหนึ่งที่ใช้การบีบ การคลึง การดัด การดึง การประคบ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย ซึ่งหลาย ๆ คนก็คงได้เคยนวดแผนไทยกันมาบ้างแล้ว และก็รู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากการปวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังรู้สึกผ่อนคลายจิตใจด้วย นับว่าการนวดไทยมีข้อดีหลายอย่างจึงทำให้เป็นการนวดที่ได้รับความนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
นอกจากข้อดีของการนวดไทยแล้ว คนที่ชอบนวดก็ควรได้ทราบถึงข้อควรระวังของการนวดแผนไทยไว้ด้วย ซึ่งทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้บอกถึงข้อควรระวังหรือข้อห้ามในการนวดไว้ ดังนี้
- ข้อห้ามในการนวด
-
- ห้ามนวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง
- ผู้ที่มีไข้สูงเกิน 38.5 องศา
- บริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน
- ผู้ที่มีภาวะแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
- บริเวณที่กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่หายดี
- โรคติดเชื่อทางผิวหนังทุกชนิด
- ข้อควรระวังในการนวด
-
- สตรีมีครรภ์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- ใส่อวัยวัเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
- ผุ้ที่มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง
- ผู้ที่เพิ่งรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ (ไม่เกิน 30 นาที) ก่อนการนวด
หลังจากการนวดอาจจะมีอาการระบมเกิดขึ้นหลังการนวดได้ โดยมีสาเหตุมาจาก
- อาการครั่นเนื้อครั่นตัว คล้ายมีไข้ หรืออาจจะมีไข้ต่ำ ๆ ก่อนที่จะมานวด
- ผู้นวดกดด้วย้ำหนักมือที่แรงจนเกินไป
- เป็นการนวดครั้งแรกของผู้รับบริการ กล้ามเนื้ออาจจะยังไม่คุ้นชิน และแต่ละคนมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแตกต่างกัน
- ผู้รับบริการมีผิวบอบบาง หรือเจ้าเนื้อ อาจทำให้ช้ำง่าย
เมื่อพบว่ามีอาการระบมหลังจากการนวด โดยปกติแล้วสามารถหายได้เองภายใน 1-2 วัน โดยไม่ต้องรับประทานยาแก้ปวด อาจใช้การประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น บิดหมาดบริเวณที่ปวด ลดการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น และพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีอาการรุนแรงขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
ที่มา: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์