เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา มีข่าวสารที่น่าสนใจในวงการดาราศาสตร์ นั่นคือการโคจรเข้าใกล้โลกของดาวหางสีเขียวในรอบ 50,000 ปี ที่คนบนโลกสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

ดาวหางนี้มีชื่อทางการว่า C/2022 E3 (ZTF) โดยที่ได้ชื่อเล่นว่า ‘ดาวหางสีเขียว’ (Green Comet) มาจากองค์ประกอบของดาวหางเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลตเมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการแตกตัวของโมเลกุล ทำให้คนบนโลกมองเก็นดาวหางเปล่งแสงออกมาเป็นสีเขียว

รูปภาพโดย Dan Bartlett จาก Nasa

ดาวหางสีเขียวนี้ถูกค้นพบโดยกลุ่มนักดาราศาสตร์จากศูนย์ Zwicky Transient Facility รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคม 2565 ในขณะนั้นเหล่านักดาราศาสตร์คิดว่าดาวหางดวงนี้เป็นดาวเคราะห์น้อยของดาวพฤหัส เนื่องจากกำลังโคจรรอบดาวพฤหัส แต่มาทราบว่าเป็นดาวหางจากการเปล่งแสงเมื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์

ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) เคยมาให้มนุษย์โลกได้เห็นแล้วครั้งหนึ่งตั้งแต่สมันยุคหินตอนปลาย และการกลับมาให้เห็นในครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 50,000 ปี สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าถ้าในบริเวณนั้นไม่มีแสงไฟที่สว่างจนเกินไป แต่สามารถมองเห็นได้ง่ายขึ้นด้วยกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องส่องทางไกล

คาดว่ากว่าจะได้เห็นดาวหางสีเขียวนี้อีกครั้งคงใช้เวลาอีกหลายล้านปี หรืออาจจะไม่มีโอกาสได้เห็นอีกเลยเนื่องจากถูกขับออกจากระบบสุริยจักรวาลอย่างถาวร