โดยนิตยสาร Newsweek ร่วมกับ Statista ได้ทำการสำรวจและประกาศจัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2567 (World’s Best Hoapitals 2024) จาก 30 ประเทศทั่วโลก รวมโรงพยาบาล 2,400 แห่ง เผยแพร่ผ่านทาง www.newsweek.com

สำหรับการให้คะแนนโรงพยาบาลแต่ละแห่งนั้น พิจารณาจาก 4 แหล่ง ได้แก่

1. การสำรวจออนไลน์จากแพทย์ ผู้บริหารโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 85,000 ราย
2. ข้อมูลจากการสำรวจความพึงพอใจโดยทั่วไปของผู้ป่วยหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
3. ดัชนีตัวชี้วัดคุณภาพของโรงพยาบาล เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยของผู้ป่วย และอัตราส่วนผู้ป่วย/แพทย์ หรือพยาบาลต่อผู้ป่วย
4. การสำรวจของ Statista ที่ใช้แบบประเมินผลลัพธ์ด้านการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย คือ Patient Reported Outcome Measures (PROMs) โดยมีการสำรวจข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2566

 

10 โรงพยาบาลที่ดีที่สุดในไทย ปี 2567

 

 

1. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ “ Bumrungrad International Hospital “ ได้คะแนน 93.00%

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 เป็นโรงพยาบาลที่บุกเบิกการให้บริการดูแลสุขภาพที่ได้มาตรฐานระดับโลกและให้บริการดูแลสุขภาพแก่ชาวต่างชาติมาเป็นเวลานานเกือบสี่ทศวรรษ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมหานครขนาดใหญ่ที่มีความเป็นสากลซึ่งมีสมัญญาว่า “กรุงเทพ” (The City of Angels) ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องวัฒนธรรมในการดูแลต้อนรับอันยอดเยี่ยมและอาหารรสเลิศ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล โดยมีแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา และได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยกว่า 1.1 ล้านคนต่อปีที่มาจากประเทศต่างๆ กว่า 190 ประเทศ

 

 

 

2. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ “ Siriraj Piyamaharajkarun Hospital “ ได้คะแนน 87.34 %

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ภายในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ประกอบด้วยอาคารโรงพยาบาลชื่อว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ เป็นอาคารสูง 14 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับบริการตรวจรักษาประมาณ 165,270 ตารางเมตร และสถาบันการแพทย์ชื่อว่า สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ในโรงพยาบาลฯ ประกอบไปด้วย[4]
* ห้องบริการผู้ป่วยนอก 177 ห้อง (4 ประเภทห้อง)
* ห้องผ่าตัด 17 ห้อง
* ห้องผู้ป่วย 284 ห้อง
* หอผู้ป่วยวิกฤติ 61 ห้อง
* พื้นที่จอดรถมากกว่า 1,000 คัน
* ลานจอดเฮลิคอปเตอร์รับส่งทางการแพทย์
* เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง
* ศูนย์รักษาโรคครบวงจร

 

 

 

3. โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท “ Samitivej Sukhumvit Hospital “ ได้คะแนน 84.15 %

บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านการรักษาพยาบาลซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลสมิติเวช เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตลอด 24 ชั่วโมง ในระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) และมีบริการรักษาพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (Out Patient Clinic)[1] เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2522 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ในซอยสุขุมวิท 49 จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2552 ร้อยละ 40 ของคนไข้เป็นชาวต่างชาติ[2] และจากข้อมูลปี 2560 โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ทั้งสองแห่งสร้างรายได้ประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งร้อยละ 46 มาจากลูกค้านานาชาติ และร้อยละ 54 เป็นลูกค้าชาวไทย และเกือบร้อยละ 20 เป็นชาวญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังให้บริการรักษาพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มี 2 แห่ง คือ สมิติเวชสุวรรณภูมิ คลินิกเวชกรรม และสมิติเวชดอนเมือง คลินิกเวชกรรม

 

 

 

4. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “ King Chulalongkorn Memorial Hospital “ ได้คะแนน 83.92 %

การจัดสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์แห่งสภากาชาดไทยนี้ได้สำเร็จลุล่วงตามพระราชปณิธานแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ถึง ๒ พระองค์เป็นพระวิริยะอุตสาหะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง ๑๘ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๕๔) กว่าจะได้จัดสร้างจนสำเร็จลุล่วง
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย“พระบรมราชานุสาวรีย์”แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมด้วยคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ

 

 

 

5. โรงพยาบาลรามาธิบดี “ Ramathibodi Hospital “ ได้คะแนน 83.72 %

โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นหน่วยงานหนึ่งในระดับภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเป็นสถานพยาบาลแห่งหนึ่งของรัฐ ตั้งอยู่เลขที่ 270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 มีเนื้อที่ทั้งหมด 38 ไร่ มีอาคารรวม 20 อาคาร เริ่มเปิดดำเนินการรักษาคนไข้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 หน้าที่หลักของโรงพยาบาล คือ การปฏิบัติงานสนับสนุนการรักษาพยาบาล การเรียนการสอน การวิจัย และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ มีบุคลากรทั้งสิ้นประมาณ 1,367 คน คณะผู้บริหารประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและรองผู้อำนวยการ แต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัยมหิดลและคำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดล ตามการเสนอแนะของคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีผู้บังคับบัญชา ซึ่งกำหนดนโยบายและควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

 

 

6. โรงพยาบาลเมดพาร์ค “ MedPark Hospital “ ได้คะแนน 76.54 %

โรงพยาบาลเมดพาร์ค  ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจแห่งใหม่บนถนนพระราม 4 ประกอบด้วยอาคาร 25 ชั้น พื้นที่ประมาณ 90,000 ตารางเมตร มีแพทย์เฉพาะทางกว่า 30 สาขา ทั้งนี้ เมื่อเปิดให้บริการเต็มที่ จะสามารถให้บริการด้วยห้องตรวจผู้ป่วยนอกถึง 300 ห้อง สามารถรองรับผู้ป่วยค้างคืนได้ 550 เตียง โดยมีจำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤต 130 เตียง จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ก้าวหน้าอย่างครบครัน อาทิ PET-CT, MRI 3 Tesla, SPECT-CT, Nuclear Medicine, Radiation Therapy (เครื่อง LINAC), Bone Marrow Transplantation Unit  และ Hybrid Operating Theater เป็นต้น

 

 

โรงพยาบาลเมดพาร์ค ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่จะดึงศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ของไทยมาร่วมกัน ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มขีดความสามารถ ใช้แนวคิดและการปฏิบัติแบบ Integrated Care โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ คำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมมอบคุณค่าของการรักษา (Value-based Care) ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในสังคมปัจจุบัน

 

7. โรงพยาบาลกรุงเทพ “ Bangkok Hospital “ ได้คะแนน 75.32 %

โรงพยาบาลกรุงเทพ (อังกฤษ: Bangkok Hospital) ในปี พ.ศ. 2561 ได้ขยายเครือข่ายรวม 46 สาขา ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2562 ได้เปิดขยายสาขาอีก 3 สาขาได้แก่ Samitivej Japanese Regional Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพเขาใหญ่ โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงราย และในปี พ.ศ. 2563 ได้เปิด โรงพยาบาลกรุงเทพจอมเทียน และขยายเครือข่ายรวม 50 สาขา ในปี พ.ศ. 2563

โรงพยาบาลครอบคลุมพื้นที่ให้บริการแทบทุกภูมิภาคของไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยว ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง บุคลากรมืออาชีพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง เพรียบพรัอมด้วยบริการฉุกเฉินและบริการพิเศษเหนือระดับ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อสนองตอบทุกความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ บริษัทเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศ โดยมีโรงพยาบาลเครือข่ายในไทยและกัมพูชา ดำเนินการภายใต้ชื่อโรงพยาบาล 6 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบี เอ็น เอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล และกลุ่มโรงพยาบาลรอยัล นอกจากนี้เครือข่ายของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ยังรวมถึงธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์ ได้แก่ ธุรกิจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ธุรกิจผลิตยาและธุรกิจผลิตน้ำเกลือ เป็นต้น

 

 

 

8. โรงพยาบาลธนบุรี “ Thonburi Hospital “ ได้คะแนน 71.90 %

โรงพยาบาลธนบุรี เป็นโรงพยาบาลเอกชนในเครือธนบุรีเฮลท์แคร์ ตั้งอยู่ที่ซอยอิสรภาพ 44 (ซอยแสงศึกษา) แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 โดยนายแพทย์ บุญ วนาสิน
โรงพยาบาลธนบุรีเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของฝั่งธนบุรี (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา) โดยตั้งอยู่ใกล้โรงพยาบาลศิริราช ปัจจุบัน โรงพยาบาลนี้มีแพทย์กว่า 350 คน และมี 435 เตียง ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

 

9. โรงพยาบาลพระรามเก้า “ Praram 9 Hospital “ ได้คะแนน 71.79 %

โรงพยาบาลพระรามเก้า (โรงพยาบาลพระรามเก้า อังกฤษ: Praram 9 Hospital) เป็นโรงพยาบาลเอกชน ตั้งอยู่บนถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปัจจุบันมีแพทย์กว่า 200 คน และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ อาคารโรงพยาบาลพระรามเก้า ก่อตั้งโดยคณะคณะแพทย์จากสาขาต่าง ๆ รวมตัวกัน และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 1992 ปัจจุบันมีนายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ อายุรแพทย์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล

 

 

 

10. โรงพยาบาลราชวิถี “ Rajavithi Hospital “ ได้คะแนน 71.77 %

โรงพยาบาลราชวิถี เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล นับเป็นโรงพยาบาลศูนย์วิชาการที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันร่วมผลิตแพทย์ให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

 

 

 

ที่มา : https://www.newsweek.com/rankings/worlds-best-hospitals-2024/thailand