อาหารมาเลเซีย (Malaysia Food) เป็นหนึ่งในสัญชาติอาหารที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง และ ตื่นตาตื่นใจกับรสชาติ และ หน้าตาอาหารทุกครั้งเมื่อได้มาเยี่ยมเยือนประเทศมาเลเซีย เนื่องจากอาหารมาเลเซียนั้น เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลการปรุงอาหาร การใช้วัตถุดิบ และ การจัดเตรียมอาหารมาจากหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SouthEast Asia) ไม่ว่าจะเป็น อาหารอินโดนีเซีย, ไทย, จีน รวมไปจนถึงอินเดีย จึงเกิดเป็นรสชาติที่แปลกใหม่ ผสมผสานรสชาติหวาน, เปรี้ยว และเผ็ด อันเป็นเอกลักษณ์รสชาติอาหารมาเลเซียจนถึงทุกวันนี้ มาดูกันค่ะว่า 10 อันดับอาหารมาเลเซีย อร่อยถูกปาก ไปเที่ยวต้องลองจะมีเมนูไหนบ้าง

 

 

10 อันดับอาหารมาเลเซีย อร่อยถูกปาก ไปเที่ยวต้องลอง

 

 

 

1. Nasi lemak (นาซี เลอมัก)

อาหารมาเลเซียประจำชาติ กับเมนู Nasi lemak (นาซี เลอมัก) ซึ่งอาหารหน้าตาธรรมดาจานนี้ คือ ข้าวหุงด้วยกะทิ และห่อด้วยใบเตย ทำให้รสชาติอาหารมีความหวาน และ หอมในทุกคำ ชาวมาเลเซียนิยมรับประทานอาหารจานนี้คู่กับไก่ทอด หรือ ในบางครั้งใช้เป็นไก่ทอดแกงกะหรี่ ในมื้ออาหารเช้า พร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ และเพื่อรสชาติที่เผ็ดร้อนตามอย่างอาหารมาเลซเซีย โดยการกินคู่กับน้ำพริก “ซัมบัล (Sambal)” (น้ำพริกรสเผ็ดประจำชาติของประเทศมาเลเซียนั่นเอง)

 

 

 

2. Assam laksa (อัซซัมลักซา)

เมนูอาหารที่หน้าตาคล้ายคลึงกับขนมจีนน้ำยาบ้านเราจานนี้ เป็นอาหารมาเลเซียขึ้นชื่ออีกหนึ่งเมนูที่หาทานได้ยากในประเทศอื่นๆ โดยเมนูนี้ มีชื่อว่า Assam laksa (อัซซัมลักซา) เมนูนี้ พระเอกของเรา คือ เส้นขนมจีนขนาดใหญ่ ที่ถูกราดด้วยน้ำแกงรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นฉุน และ มีรสชาติค่อนข้างแรง โดยวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำน้ำแกงนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเทศ และ สมุนไพรที่มีรสชาติเผ็กด และ กลิ่นแรง ไม่ว่าจะเป็น หอม กระเทียม ตะไคร้ กะปิ พริก สะระแหน่ ขิง และ ผักแพว เป็นต้น

 

 

 

3. Char Kway Teow (ฉ่าก๋วยเตี๋ยว)

เมนูก๋วยเตี๋ยวขึ้นชื่อของประเทศมาเลเซียอีกหนึ่งเมนู ที่มาพร้อมกับหน้าตาอาหารที่คล้ายคลึงกับหน้าตาผัดซีอิ๊ว หรือ ผัดไทยบ้านเรานั้น คือ เมนู Char Kway Teow (ฉ่าก๋วยเตี๋ยว) ซึ่งความแตกต่างของอาหารมาเลเซียจานนี้ กับ ผัดซีอิ๊ว และ ผัดไทยบ้านเรา คือ ความหลากหลายของวัตถุดิบ และ เส้นที่มีความเหนี้ยวนุ่มมากกว่า โดยเส้นที่นำมาใช้กับ เมนู Char Kway Teow (ฉ่าก๋วยเตี๋ยว) คือ เส้นแป้งข้าวเจ้า แผ่นใหญ่ แล้วจึงนำมาตัดเป็นเส้นเล็ก ซึ่งรสชาติของเส้นนั้น จะออกไปทางเค็มมัน ไม่หวานเหมือนเส้นของผัดไทยบ้านเรา ในส่วนของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำนั้น ได้แก่ กุนเชียงทอด, หอยแครงลวก, ปลาเส้น, กุ้ง, ไข่, ถั่วงอก, และ ใบกุยช่าย จากนั้นปรุงรสด้วยพริกแกง, ซีอิ๊วขาว, น้ำตาลเล็กน้อย และ พริกไทย

 

 

 

4. Roti canai (โรตีจาไน)

เมนู Roti canai (โรตีจาไน) หรือ ที่นักท่องเที่ยวชาวไทยเรีบกกันติดปากว่า โรตีแกงชาวปีนัง นั่นเอง แม้ว่าคนไทยจะคุ้นเคยดีกับเมนูโรตีทอดกรอบๆ ราดด้วยนมข้นหวาน และ น้ำตาล แต่เมนูโรตีจาไนต้นฉบับแท้ๆ จากประเทศมาเลเซียนั้น มีวิธีการทำ การรับประทาน และ รสชาติที่แตกต่างกันกับโรตีทอดที่เราหาพบเจอได้ตามข้างทางบ้านเรา จริงๆ แล้ว เมนู Roti canai (โรตีจาไน) ทำมาจากแป้งสดของประเทศอินเดีย ทำมาปั้น และ แร่ให้เป็นแผ่นบางกรอบ จากนั้นพักซ้อนกันเป็นชั้นๆ รับประทานควบคู่กับแกงเผ็ดร้อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ หรือ แกงมัสมั่น แทนข้าวสวยนั่นเอง ซึ่งแป้งโรตีที่ว่านี้ มี Texture ที่แตกต่างจากโรตีทั่วไป มีความบางกรอบ นุ่มด้านใน และ หอมเนยเอามากๆ

 

 

 

5. Hokkien mee (ฮกเกี้ยนหมี่)

ฮกเกี้ยนหมี่ เป็นเมนูอาหารที่น่าสนใจอีกหนึ่งจานของอาหารมาเลเซีย โดยอาหารจานนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอาหาร 2 เชื้อชาติ ได้แก่ อาหารจีน และ อาหารมาเลเซีย ซึ่งเมนู ฮกเกี้ยนหมี่ ที่เราพบเห็นในประเทศมาเลเซียนั้นมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ปีนังแฮหมี่ (ฮกเกี้ยนหมี่น้ำซุปกุ้ง) สิงคโปร์แฮหมี่ (ฮกเกี้ยนเหมี่ผัดกุ้ง) และ กัวลาลัมเปอร์ฮกเกี้ยนหมี่ (ฮกเกี้ยนหมี่ผัดซีอิ๊วดำ) ซึ่งฮกเกี้ยนหมี่ ชาวมาเลเซีย และนักท่องเที่ยวชื่นชอบกันมากที่สุด คือ แบบฉบับของกรุงกัวลาลัมเปอร์

 

 

 

6. Ikan bakar (อีกันบาการ์)

Ikan bakar (อีกันบาการ์) เป็นเมนูอาหารมาเลเซีย ที่สามารถแปลออกมาตรงตัวได้ว่า “ปลาเผา” ซึ่งแม้ว่าหน้าตราของอาหารมาเลเซียจานนี้ จะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับปลาย่างตามท้องตลาดบ้านเรา แต่ No No No วิธีการทำ ปรุงอาหาร และ รสชาตินั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยชาวมาเลย์ จะนำเอาปลาสลิด, ปลาดุกเงินม ปลาไน และ อื่นๆ อีกมากมาย เอามาหมักกับเครื่องแกง และ ซอสซัมบัล (Sambal) ซึ่งในบางร้านนำไปหมักด้วยพริก, หอมแดง, กระเทียม และ กะปิมาเลย์ จากนั้นจึงนำไปวางใบตอง และ ย่างบนถ่านหินบนตะแกรง ทำให้ได้รสชาติที่หอมถ่าน เครื่องเทศ และใบตองในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาหารมาเลเซียจานนี้ นิยมรับประทานควบคู่กับข้าวสวย เครื่องเคียงผักประเภทต่างๆ หรือ บางคนจะนำเนื้อปลามาจิ่มกับซอส kecap manis ซึ่งเป็นซีอิ๊วหวานสัญชาติอินโดนีเซียก็ได้เช่นกัน

 

 

 

7. Otak-Otak (โอตัก-โอตัก)

Otak-Otak (โอตัก-โอตัก) หรือ ที่มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าห่อหมกมลายู นั้น เป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารมาเลเซียที่มีหน้าคล้ายคลึงกับอาหารไทย โดยอาหารมาเลเซียเมนูนี้แค่มองแวบเดียวก็รู้แล้วว่าหน้าเหมือนกับห่อหมกบ้านเรามากๆ เมนูนี้ทำมาจากเนื้อปลาบด นำมาปรุงรสกับเครื่องแกงหลายชนิด ได้แก่ พริก หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ขมิ้น ลูกผักชี กะปิ และแคนเดิลนัต จากนั้นจึงนำไปห่อกับใบตอง และ นำไปย่าง จนเนื้อปลาบดเกิดเป็นสีส้ม-แดงสดอย่างสวยงาม อย่างไรก็ตาม แต่ละพื้นที่ของประเทศมาเลซีย จะมีสูตรการทำ Otak-Otak ที่แตกต่างกันออกไป ในบางร้านจะใส่ผงแกงกะหรี่เข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติเผ็ดร้อน และ กลิ่นเครื่องเทศ ซึ่งเป็นรสชาติอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ของอาหารมาเลเซียนั่นเอง

 

 

 

8. Bak kut teh (บักกุ๊ดเต๋)  

เมนู Bak kut teh (บักกุ๊ดเต๋) ต้นตำรับของประเทศมาเลเซียนั้น จะเป็นน้ำซุปกระดูกหมู ไม่ใส่ซี่โครง ตัวน้ำซุปของบักกุ๊ดเต๋ ประเทศมาเลเซีย จะเป็นน้ำข้นๆ คล้ายๆ กับน้ำพะโล้ ใส่เครื่องเทศ และ เครื่องจีนลงไป ทานคู่กับน้ำซอสซีอิ๊วหวาน และเสิร์ฟพร้อมกับเครื่องปรุง อย่างกระเทียมเจียว พริกป่น เพื่อให้ได้ปรุงรสตามอย่างที่ชอบ สำหรับประเทศมาเลเซีย เมนูนี้จะกินคู่กับข้าวสวยร้อนๆ หรือ จะกินคู่กับปาท่องโก๋ก็เข้ากันได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

 

9. Cendol (ขนมลอดช่องมาเลย์) 

ขนมลอดช่อง (Cendol) เป็นเมนูของหวานที่ได้รับความนิยมรับประทานกันในแถบเอเชียตะวันออกเฉียวใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย ซึ่งหากเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศมาเลเซีย ขนมลอดช่องที่มีชื่อเสียงนั้น อยู่ที่เมืองมะละกา โดยที่เมืองนี้ จะมีชื่อเรียกเมนูนี้ว่า Chendul ซึ่งความแตกต่าง ซึ่งเป็นกิมมิคเล็กๆ ที่ทำให้จานนี้ เป็นอาหารมาเลเซียที่เราอดแนะนำไม่ได้นั้น คือ การใส่ถั่วแดงกวน และ น้ำเชื่อมสีน้ำตาลเหนียวๆ (Sweet Bown Syrup) ลงไป เพื่อเพิ่มความหวานมัน ซึ่งพอทานคู่กับเส้นลอดช่องที่ทำมาจากข้าว กะทิมะพร้าว และ น้ำแข็ง Shaved Ice เย็นๆ แล้ว เข้ากันได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

 

10. Teh Tarik หรือ ชาชัก

ชาชัก หรือ ที่ชาวมาเลย์เรียกกันว่า Teh Tarik ซึ่งคำว่า “Teh” ออกเสียงว่า “เต๊ะ” ซึ่งแปลว่า “ชา” และ คำว่า “Tarik” แปลว่า “ดึง หรือชัก” นั่นเอง ซึ่งความพิเศษของ Teh Tarik คือ เป็นชานมร้อน รสชาตินุ่มนวล ทำมาจากชาดำเข้มข้นผสมกับนมข้นจืด หรือ นมระเหย ซึ่งวิธีการชงชานั้น คือ การเทชาจากจานพาชนะหนึ่งไปยังอีกหนึ่งพาชนะ โดยการกางแขนยาวๆ จนตัวชาเกิดเป็นฟอง ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้ตัวชามีอุณหภูมิที่เย็นลง อย่างเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับการดื่มนั่นเอง