บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ 10 อันดับปลาที่ดุร้ายที่สุดในโลกกันนะคะ จะมีปลาชนิดไหนกันบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยค่ะ

 

10 อันดับปลา ที่ดุร้ายที่สุดในโลก

 

 

 

1. Great white shark

ฉลามขาวยังคงเป็นสัตว์ที่สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คนจนถึงปัจจุบันนะคะ เนื่องจากเราสามารถพบเห็นพวกมันได้ ตามแถบทะเลชายฝั่งเกือบทั่วทุกมุมโลก และด้วยขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ และมีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม
กินเนสบุ๊ค ออฟ เวิลด์เรคคอร์ด (Guinness Book of World Records) ได้บันทึก
ปลาฉลามขาวที่ตัวใหญ่ที่สุดไว้ได้ 2 ตัว

 

 

– ตัวที่หนึ่งยาว 11 เมตรจับได้ที่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ใกล้กับพอท แฟร์รี่ (Port Fairy) ในปี 1870
– ตัวที่สอง ยาว 11.3 เมตร ติดอวนชาวประมงที่เมือง New Brunswick ประเทศแคนาดา ในปี 1930)

ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังเหลืออยู่ ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์กินเนื้อ เหยื่อที่มันเลือกจะล่ามีปลา (รวมทั้งปลากระเบนและ ฉลามที่ตัวเล็กกว่า) ปลาโลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล เต่าทะเล และเต่าตะหนุ ทั้งยังมีชื่อในเรื่องกินไม่เลือก แม้กระทั่งของที่กินไม่ได้อย่างกระป๋อง ทุ่มลอยน้ำ และฉลามขาวยังมีจมูกที่ไวต่อกลิ่นเลือดเป็นอย่างมาก เพราะฉลามขาวสามารถได้กลิ่นเลือดเพียง 1 หยดที่อยู่ไกลออกไปถึง 3 กิโลเมตรกันเลยนะคะ

 

 

2. Frilled shark

Frilled shark เป็นฉลามในสกุล Chlamydoselachus มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus เดิมคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มีรายงานพบในหลายพื้นที่ รวมถึงในเขตน่านน้ำญี่ปุ่น ทำให้กลายเป็น “ฟอสซิลมีชีวิต” อีกชนิดหนึ่งที่ยังคงมีชีวิตเหลือรอดในยุคครีเทเชียส จนกระทั่งปัจจุบัน ช่วงศตวรรษที่ 19 ล่าสุดในเดือนมกราคมปี 2007 ชาวประมงญี่ปุ่นพบตัวที่ยังมีชีวิตอยู่ในเขตน้ำตื้นนอกชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมาในเมืองชิสึโอกาทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียวก่อนตายในเวลาต่อมา นอกนี้มันน่าจะกระจายไปทั่วโลก ในน้ำลึกตั้งแต่ระดับ400-4,200 ฟุต ทำให้เป็นฉลามที่หายาก พบมากในเขตใกล้นอร์เวย์ แอฟริกาใต้นิวซีแลนด์ และชิลี (สำหรับตัวที่พบที่ญี่ปุ่นเชื่อว่าอาจขึ้นมาเหนือน้ำเพราะป่วยหรืออ่อนแอ ผลจากน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น

 

 

หน้าตาของฉลามชนิดนี้แตกต่างจากฉลามที่เรารู้จักกันทั่วไป เพราะคล้ายกับปลาไหลสีน้ำตาลหรือสีเทามากกว่า แต่การมีช่องเหงือก 6 คู่ เป็นจุดที่ยืนยันว่ามันคือฉลามตัวเต็มวัยยาวได้ถึง 6.5 ฟุต ส่วนตัวที่พบล่าสุดยาว 5.3 ฟุต และเป็นไปได้ว่ามันมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยดึกดำบรรพ์น้อยมาก มีฟันแตกเป็นดอกแหลม3 แฉก คาดว่าเป็นนักล่าที่น่ากลัวตัวหนึ่ง แต่ไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์

 

 

3. Wolf Fish

Seawolf ปลาหมาป่า หรือหมาป่าทะเล (นอกจากนี้ยังมีหลายชื่อเช่น Atlantic catfish,ocean catfish, wolf eel )เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่จำพวก Anarhichas เป็นปลาโบราณอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในโลกเมื่อ 50 ล้านปีมาแล้ว บางชนิดอยู่ในเขตร้อนในน้ำจืดแต่พวกมันชอบอยู่ในน้ำเย็นมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ มากกว่า โดยมักอาศัยหลบซ่อนตามโขดหิน ปลาหมาป่าเป็นปลาที่มีหัวค่อนข้างใหญ่ มีปากขนาดใหญ่และฟันแหลมคม ฟันนี้ใช้สำหรับแทะเพื่อกินเม่นทะเลเป็นอาหาร (สัตว์น้ำจำพวกที่มีเปลือกเป็นอาหารหลักของมัน) พวกมันสามารถมีขนาดใหญ่ถึง 20 กิโลกรัม และสามารถยาวถึง 150 เซนติเมตร ผิวมีสีน้ำเงินเข้มแต่พอขึ้นจากน้ำจะกลายเป็นสีน้ำตาล

 

 

 

4. Goliath Tigerfish

ปลา Tiger Fish เป็นปลาน้ำจืดกลุ่ม Characin(กลุ่มเดียวกับปิรันย่า) ที่มีขนาดใหญ่มักอาศัยใน แม่น้ำ Lualaba และทะเลสาป Tanganyika ประเทศคองโก ขนาดใหญ่สุดมี น้ำหนักถึง 80 ปอนด์ ที่เรียกว่า “ปลาเสือ” ก็เพราะ ก็อันเนื่องมาจากข้อมูลพฤติกรรมของมันที่เป็นนักล่ามาแต่กำเนิด บวกกับเขี้ยวของมันและด้วยรูปร่างของมันคล้ายตอร์ปิโด คือมีรูปร่างที่เพรียว ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วทำให้ได้เปรียบในการค้นหาและล่าเหยื่อ ลักษณะของเกล็ดมีขนาดใหญ่ มีสีเงินวาว และที่ตัวเกล็ดจะมีจุดสีเข้ม ด้วยเหตุนี้ทำให้เห็นเป็นลายพาดตามยาวไปตามแนวข้างลำตัวเหนือเส้นข้างลำตัว ทำให้มองดูคล้ายลายของเสือลายพาดกลอน มีนิสัยก้าวร้าวมาก เป็นหนึ่งในนักล่าที่น่าหวาดกลัวที่สุดในแหล่งน้ำจืด

 

 

 

5. cookiecutter shark

ฉลามคุกกี้คัตเตอร์ หรือ cigar shark เป็นปลาฉลามอีกพันธุ์ที่หายาก อาศัยน้ำลึก 500 ฟุต มีขนาดเล็กขนาดเท่าซิการ์เท่านั้น แต่พิษสงเหลือร้ายทำให้มันล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างวาฬและโลมาเป็นอาหารได้สบายๆ โดยฉลามคุกกี้คัตเตอร์นั้นมีเทคนิคซุ่มโจมตีที่ใช้ประโยชน์จากการเรืองแสงในตัวเหมือนกับผี เป็นกับดักล่อฝูงทูน่าครีบเหลืองให้พุ่งตรงเข้ามา และเมื่อมันจู่โจมมันจะตะปบกัด และบิดตัวกัดเอาเนื้อออกไปเป็นก้อนกลมเหมือนลูกกอล์ฟ เหมือนขนมคุกกี้เลยทีเดียว

 

 

 

6. แฮคฟีช (hagfish)

แฮคฟีช (hagfish) รูปร่างเหมือนทาก หรือปลิงแต่ความจริงแล้วเป็นปลา เป็นปลาไม่มีขากรรไกรที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยการกินปลาตาย หรือใกล้ตายรวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม กลุ่มหนอนปล้อง มอลลัสและครัสเตเชียน ดังนั้นแฮคพีช จึงไม่เป็นปาราสิต และไม่ได้เป็นสัตว์ล่าเหยื่อ แต่ค่อนมาทางกินซากสัตว์มากว่า แฮคฟีชมีประมาณ 32 ชนิด แฮคฟีชกินปลาตายหรือปลาใกล้ตายโดยการ กัดไชเข้าไปทางทวาร หรือถุงเหงือก แล้วกินส่วนของตัวปลาที่อ่อนนุ่มเหลือไว้แต่หนังและกระดูก นอกจากนี้แอคฟีชยังกินปลาที่ตำแหอวนลอยอยู่ ทำความเสียหายให้แก่ชาวประมง แต่หลังจากมีการประมงโดยใช้อวนลาขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ปัญหาที่เกิดจากแฮคฟีชจึงลดลง

 

 

 

7. Basking Shark

ฉลามบาสกิ้น เป็นยักษ์ใหญ่ผู้ใจดีแห่งท้องทะเลใหญ่เป็นอันดับสองรองจากฉลามวาฬยาวประมาณ 12.27 เมตร หนักกว่า 19 ตัน มีรายงานการพบปลาขนาดใหญ่ที่นอร์เวย์วัดได้ยาว 12 เมตร มีปากขนาดใหญ่แต่กินแพลงตอนเป็นอาหาร โดยปากของมันจะเหมือนตัวกรองที่สามารถดูดน้ำเข้าปากได้ 2000 ตันต่อชั่วโมง พบในมหาสมุทรที่น้ำเย็นทั่วโลก แต่เนื่องจากมันเชื่อมช้าทำให้มันมักติดมากับอวดของชาวประมงอยู่บ่อยๆ อีกทั้งมันยังถูกล่าในเชิงพาณิชย์อีกด้วย ทำให้มันเริ่มหายาก (ครีบ กระดูกอ่อนยาจีน เนื้อดิบญี่ปุ่น) ทำให้กลายเป็นสัตว์สงวนห้ามล่า

 

 

 

8. Blob Fish

ปลาบร็อบ ( Blobfish ) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ ” Psychrolutes marcidus ” เป็นปลาน้ำลึก ที่พบในน่านน้ำ ออสเตรเลีย ( Australia ) และ แทสมาเนีย ( Tasmania )เนื่องจากการเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยทำได้ยาก จึงไม่ค่อยมีผู้พบเห็นมากนัก

 

 

 

9. Lamprey

ปลาแลมเพรย์เป็นปลาไหลชนิดหนึ่ง ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะคล้ายแว่นใช้สำหรับดูด ปากกลมซึ่งไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นมาบังคับขากรรไกรให้อ้าและหุบแบบปัจจุบัน พวกมันต้องการเพียงปากที่มีตะขอสำหรับเกาะเหยื่อเพื่อดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร และดำรงชีพเป็นปรสิตเมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม่ (แลมเพรย์มีหลายชนิด บางชนิดไม่จำเป็นต้องดำรงแบบปรสิต)

 

 

 

10. Goblin Shark

ฉลามก็อบบลิน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitsukurina Owstoni (ตามชื่อเรือประมงที่ค้นพบ) เป็นปลาฉลามที่หายากและข้อมูลของมันมีน้อยมาก มันอาศัยในแถบมหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้ ไล่ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติคและมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พบครั้งแรกที่ประเทศ ญี่ปุ่น รูปร่างลักษณะของมันก็เหมือนฉลามธรรมดาผิวสีเทา มีหาง มีครีบ แต่จะมีครีบที่ค่อนข้างมากอยู่สักหน่อย และส่วนที่เห็นได้ชัดเลยว่าแตกต่างไปจากฉลามตัวอื่น คือ เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผากมัน หรือก็คือจมูกที่มีลักษณะแบนราบซึ่งจะ เป็นตัวช่วยให้ฉลามก็อบบลินหาเหยื่อได้ โดยจะมีอวัยวะที่ทำงานคล้ายเซนเซอร์ไฟฟ้าอยู่ข้างในจมูกของมัน คอยส่งสัญญาณให้ฉลามก็อบบลินรู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน ระยะทางเท่าไหร่ แต่บางทีมันก็ใช้การดมกลิ่นแทน ส่วนขนาดความยาวทั้งตัวตั้งแต่หัวถึงหางของฉลามก็อบบลินก็ยาวประมาณ 11-15 ฟุตหรือ 3.3 -4.5 เมตร ปัจจุบันไม่มีรายงานการโจมตีของฉลามชนิดนี้เลยเนื่องจากมันหายากและอยู่ในน้ำลึก