บทความนี้จะมาแนะนำเวปไซต์ที่สามารถช่วยตรวจสอบภาพว่าถูกสร้างด้วย AI หรือไม่ มาฝากกันนะคะ สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์เหล่านี้ได้เลยค่ะ นี่คือเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือตรวจจับภาพ AI 8 เว็บไซต์ที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถระบุได้ว่าภาพนั้นถูกสร้างขึ้นด้วย AI หรือไม่ ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ มีทั้งแบบฟรี และแบบเสียเงินนะคะ โดยแต่ละเว็บไซต์แต่ละเครื่องมือนั้น ต่างก็มีจุดเด่น และจุดอ่อนที่แตกต่างกันไปค่ะ พร้อมแล้วตามมาดูกันเลยค่ะ
รวม 8 เวปไซต์ตรวจสอบภาพว่าถูกสร้างด้วย AI หรือไม่
1. Illuminarty
เครื่องมือใช้งานง่าย รองรับทั้งการลากและวางไฟล์หรืออัปโหลดไฟล์ แสดงผลลัพธ์เป็นเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นว่าภาพนั้นถูกสร้างด้วย AI
2. AI or Not
เครื่องมือใช้งานง่าย แบ่งเป็นแบบฟรีและแบบเสียเงิน รองรับการตรวจจับภาพจาก AI art generators ยอดนิยม เช่น Midjourney, DALL-E, และ Stable Diffusion โดยเวอร์ชันฟรีสามารถใช้ได้ 10 ครั้งต่อเดือน
3. V7 Fake Profile Detector
ส่วนขยาย Chrome สำหรับตรวจจับภาพโปรไฟล์ปลอมที่ถูกสร้างด้วย AI เช็กให้ด้วยว่าบุคคลนั้นมีอยู่จริงหรือไม่มีตัวตนเพราะสร้างด้วย AI
4. Hugging Face
เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับภาพ AI ที่สร้างโดยโมเดล AI รุ่นเก่า มีเวอร์ชันที่อัปเกรดและซับซ้อนมากขึ้น เพียงแค่อัปโหลดรูปภาพที่คุณสงสัย จากนั้น Hugging Face จะตรวจสอบว่ารูปภาพนั้นเป็นของปลอมหรือทำด้วยฝีมือมนุษย์ แอปนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนั้นจึงควรใช้แอปนี้เข้ากับเครื่องตรวจจับ AI อื่นๆ อีกครั้งหนึ่ง
5. Content at Scale
เครื่องมือที่ช่วยให้ระบุได้อย่างรวดเร็วว่าภาพนั้นถูกสร้างด้วย AI หรือโดยมนุษย์ เว็บไซต์นี้ใช้งานได้ฟรี
6. Is It AI
เครื่องมือตรวจจับภาพ AI แสดงผลลัพธ์เป็นเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นว่าภาพนั้นถูกสร้างด้วย AI หรือโดยมนุษย์
7. Hive Moderation
เครื่องมือที่มีทั้งส่วนสำหรับตรวจจับข้อความ AI และภาพ AI เพียงแค่ลากและวางไฟล์ลงในเว็บไซต์หรืออัปโหลดจากอุปกรณ์ของคุณ จากนั้น Hive Moderation จะบอกคุณว่ามีความเป็นไปได้เพียงใดที่เนื้อหานั้นสร้างขึ้นโดย AI นอกจากนี้ยังแจกแจงวิธีสังเกตการจำแนกภาพว่าเป็นภาพ AI ให้ด้วย
8. Fake Image Detector
สามารถตอบคำถามที่เร็วและง่ายที่สุดว่า “รูปภาพนี้สร้างโดย AI หรือไม่” เพียงอัปโหลดไฟล์ และรอให้เครื่องตรวจจับ AI ทำการตรวจสอบให้เสร็จสิ้น ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที หากพบสัญญาณของการดัดแปลง AI คุณจะได้รับข้อความต่อไปนี้ค่ะ
“ Looks like Computer Generated or Modified image “
แต่ถ้าขึ้นข้อความภาพนั้นไม่ใช่ AI จะขึ้นข้อความนี้ค่ะ “ No Error Level Detected “ ทั้งนี้ลองใช้ Fake Image Detector ตรวจสอบผลลัพธ์สองถึงสามครั้งเพื่อความถูกต้องด้วยจะดีมากค่ะ
เครื่องมือทั้งหมดนี้สามารถตรวจจับภาพว่าสร้างด้วย AI หรือเปล่า ? อย่างไรก็ตามยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการพัฒนา ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่แม่นยำ 100% ดังนั้นผู้ใช้ควรใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์ภาพด้วยเช่นกันนะคะ