ทุกวันนี้คนไทยต้องเจอกับสภาพมลภาวะทางอากาศกันอย่างหนักหนาสาหัสกันเลยทีเดียวนะคะ ทั้งฝุ่นควัน ทั้ง PM 2.5 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี และตระหนักกันถึงพิษภัยต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 นั้นเองค่ะ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพทั้งผลเฉียบพลันและผลเรื้อรังกันเลยนะคะ

 

โดยเฉพาะผลต่อระบบการหายใจ ที่เป็นช่องทางนำพาฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย และกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายได้มากที่สุด ก็คือ เด็ก คนท้อง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรดเรื้อรัง (ปอด หัวใจ สมอง และไต) ในขณะที่ทุกภาคส่วนกำลังระดมสมอง เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนั้น ประชาชนอย่างพวกเรา ก็ควรต้องดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้กันนะคะ ในช่วงที่ฝุ่นมีปริมาณที่สูงมากๆในขณะนี้

 

 

 

เรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่านะคะ ว่าควรปฎิบัติตัวอย่างไรกันดีค่ะ

 

การปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤตฝุ่น PM2.5

1. หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลของรัฐและเอกชน หรือใช้เครื่องวัดปริมาณฝุ่นแบบพกพา เพื่อวางแผนกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม

 

 

2. เมื่อค่า PM2.5 ในขณะนั้น (ค่ารายชั่วโมง) ขึ้นสูงเกินเกณฑ์ คือ

ก. สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มเสี่ยงงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง คนทั่วไปลด และปรับเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

ข. สูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนต้องงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา

ค. สูงกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรอยู่ในตัวอาคารซึ่งติดตั้งระบบ ระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่บริการลาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจำกัดช่วงเวลาปฏิบัติงาน ไม่ให้เกินครั้งละ 60 นาที

 

 

3. ขณะที่ปริมาณฝุ่นภายนอกขึ้นสูง ภายในตัวอาคารควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

4. ขณะที่ปริมาณฝุ่นขึ้นสูง การออกกำลังกายสม่ำาเสมอจะช่วยให้ร่างกายเกิดพิษภัยได้น้อยลง หลีกเลี่ยง หรือลดเวลาการออกกำลังกายกลางแจ้ง ตามระดับเตือนภัยในข้อ 2. การออกกำลังกายในร่ม ควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

 

 

5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จะช่วยเร่งการขับฝุ่น PM2.5 ที่เล็ดรอดเข้ากระแสเลือด ออกไปทางไตในรูปของปัสสาวะได้มากขึ้น

6. การกินผักและผลไม่ให้เพียงพอ จะช่วยเสริมการทำงานของระบบแอนติออกซิแดนท์ ซึ่งจะช่วยลดการทำลายเซลล์ และเนื้อเยื่อจากพิษของฝุ่นได้

7. การอยู่ในบริเวณที่มีพืชใบเขียว จะช่วยการดูดซับฝุ่นในอากาศได้เพิ่มมากขึ้น

 

 

ขอบคุณที่มา : สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล