บทความนี้ จะพามารู้จักกับ อาการเตียงดูด หรือ Dysania นั่นเองนะคะ อาจจะมีหลายคนที่ตกอยู่ในอาการนี้ได้นะคะ คือเมื่อถึงเวลาต้องตื่นนอนในตอนเช้า แล้วกลับรู้สึกไม่อยากลุกออกจากเตียง หรือบางครั้งลุกมาแล้ว ก็อยากจะกลับไปนอนต่ออีก นั่นคืออาการที่อาจกำลังเป็นสัญญาณ เตือนว่าคุณกำลังมี อาการเตียงดูด ก็เป็นได้นะคะ ซึ่งโรคนี้อาจจะทำให้เกิดผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจได้หลายด้านเลยนะคะ ดังนั้น เราลองมาทำความรู้จัก และเข้าใจภาวะอาการของโรคนี้ไปพร้อมกันเลยดีกว่านะคะ

 

 

ทำความรู้จักกับ อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania)

อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) เป็น สภาวะที่พบว่ามีอาการลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้า ซึ่งภาวะอาการเตียงดูดนี้ จะทำให้คนที่มีอาการนี้ รู้สึกทุกข์ทรมาน เพราะลุกออกจากเตียงได้อย่างยากเย็นในตอนเช้า ทั้งยังมีความรู้สึกอยากกลับไปนอนที่เตียงอีกทั้งๆ ที่ลุกออกมาได้แล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้ อาจทำให้เกิด ภาวะความหดหู่ ความเหนื่อยล้าเรื้อรัง จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยทีเดียวนะคะ

 

 

Dysania คือ ภาวะที่ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย และง่วงนอนมากจนไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงหรือหลายชั่วโมงหลังจากตื่นนอน ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในทุกด้าน ทั้งครอบครัว หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนๆ อาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมคนที่ตกอยู่ในอาการเตียงดูดแบบนี้ ถึงทำงานไม่ได้ และนี่เองที่เป็นสาเหตุให้คนที่มีอาการนี้ ตกอยู่ในภาวะ เครียด หดหู่ เกิดความเหนื่อยล้าเรื้อรัง จนบางรายกลายเป็นโรค ซึมเศร้า จากอาการเตียงดูดได้เลยก็มีนะคะ และยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่นได้อีกด้วยนะคะ มาดูกันค่ะว่ามีโรคอะไรกันบ้าง

 

อาการเตียงดูดเป็นสัญญาณของโรคดังต่อไปนี้ได้

 

ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะ มีอาการเตียงดูดนั้น ยังสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อีกด้วยนะคะ ซึ่งโรคที่ตามมา ได้แก่

1. โรคซึมเศร้า

 

โรคซึมเศร้า หรืออาการซึมเศร้านั้น เป็นโรคทางอารมณ์ที่อาจทำให้เกิดความเศร้า การสูญเสียพลังงาน และความเหนื่อยล้า

2. กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome หรือ CFS)

 

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการเหนื่อยเรื้อรังนี้ จะมีความรู้สึกว่าเหนื่อยล้าเป็นอย่างมาก ซึ่ง
อาการนี้จะคงอยู่เป็นเวลานาน และไม่สามารถหายได้ ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดอาการเตียงดูดนั่นเอง

3. ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

 

โรคนี้ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมากมาย เช่น ส่งผลทางด้านความจำ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดความเหนื่อยล้าขึ้นได้

4. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

 

 

สิ่งนี้จะเกิดขึ้น เมื่อมีบางสิ่งขัดขวางการหายใจในขณะที่นอนหลับ ส่งผลให้พลังงานของร่างกายลดต่ำลง และเกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวันได้อีกด้วย

5. โรคโลหิตจาง

 

เมื่อร่างกายไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงเพียงพอ ระดับพลังงานของร่างกายอาจจะลดลง

6. ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

 

หากต่อมไทรอยด์ทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเฉื่อยชา เหนื่อยล้าได้

7. โรคเบาหวาน

 

 

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น สามารถส่งผลต่อพลังงานในร่างกายของคนเราได้

8. โรคขาอยู่ไม่สุข

 

โรคนี้ทำให้ร่างกาย ขยับขาไม่หยุดในขณะที่พัก

9. โรคหัวใจ

 

ปัญหาจากโรคเกี่ยวกับหัวใจ สามารถทำให้ค่างกายคนเราเหนื่อยล้าได้มากกว่าปกติ

10. ความผิดปกติของการนอนหลับ

 

สภาวะของการนอนหลับบางอย่าง เช่น การนอนไม่หลับ หรือโรคลมหลับ(Narcolepsy) มักจะทำให้คนเรา ตื่นนอนในตอนเช้าได้ยากขึ้น

โดยทั่วไปแล้ว ระยะเวลาการนอนปกติของคนทั่วไปนั้น จะแตกต่างกันตามช่วงอายุ ได้แก่
– เด็กวัยเรียนอายุ 6–13 ปี ใช้เวลานอนวันละ 9–11 ชั่วโมง
– วัยรุ่นอายุ 14–17 ปี ใช้เวลานอนวันละ 8–10 ชั่วโมง
– ผู้ใหญ่อายุ 18–64 ปี ใช้เวลานอนวันละ 7–9 ชั่วโมง หากนอนหลับอย่างเพียงพอตามระยะเวลาแล้วนั้น แต่ยังรู้สึกอ่อนเพลียมาก และไม่สามารถตื่นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ สิ่งที่ควรจะทำก็คือ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เลยนะคะ

 

อาการเตียงดูดสามารถรักษาได้หรือไม่

 

ในขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาอาการเตียงดูด ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดที่จะรับมือกับปัญหานี้ได้ก็คือ การเข้าไปพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญถึงปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เพื่อร่วมกันหาวิธีการแก้ไขปัญหานั่นเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้หากเรากำลังมีปัญหา กับความทุกข์ทรมานจากอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง และนั่นทำให้เกิดอาการเตียงดูด ทางแพทย์อาจจะแนะนำให้เราลองปรับตารางเวลานอนใหม่ ลองเล่นโยคะก่อนนอน หรือลองจัดห้องนอนใหม่ ให้รู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้น เพื่อการนอนหลับพักผ่อนที่ดีของเรานั่นเองค่ะ

 

 

ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแล้วนั้น อาการของเราอาจจะแย่ลงได้นะคะ ปลีอยไว้นานวันเข้า อาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยค่ะ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็นอันตรายได้เพราะ โรคทางจิต ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกทางถูกวิธีนั้น อาจทำให้คนป่วยมีแนวโน้มที่จะทำร้ายตัวเองได้นั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นหากสังเกตอาการของตัวเอง หรือคนใกล้ชิดแล้ว มีอาการที่อาจบ่งชี้ได้ว่า ตกอยู่ในอาการเตียงดูดแล้ว ก็อย่านิ่งนอนใจนะคะ รีบไปพบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ จะได้รักษาอาการต่างๆได้ทันท่วงทีค่ะ