องค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนประชาชนทั่วไปแล้วนะคะ ว่าอย่าใช้ “สารแทนความหวาน” ลดน้ำหนัก หลังจากพบว่าไม่มีประโยชน์ในระยะยาว ต่อการลดไขมันในร่างกายแล้ว ยังทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและการเสียชีวิตอีกด้วยนะคะ

 

 

หน่วยงานของสหประชาติ เปิดเผยผลการตรวจสอบสารแทนความหวาน  พบว่า ไม่ได้ให้ประโยชน์ในระยะยาว ต่อการลดไขมันในร่างกายของผู้ใหญ่ หรือเด็ก และอาจมีผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ ก่อให้เกิดโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และเพิ่มการเสียชีวิตในผู้ใหญ่ได้อีกด้วยนะคะ

Francesco Branca ผู้อำนวยการฝ่ายโภชนาการ และความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวในการแถลงข่าวด้วยว่า การเปลี่ยนน้ำตาล มาใช้สารแทนความหวาน ไม่ได้ช่วยในการควบคุมน้ำหนักในระยะยาว แนะนำให้ใช้วิธีอื่นในการลดปริมาณน้ำตาลแทน เช่น การบริโภคอาหาร ที่มีน้ำตาลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างผลไม้ หรือไม่ก็ดื่มเครื่องดื่มไร้น้ำตาลแทนจะดีกว่านะคะ

 

 

สารแทนความหวาน ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นในการบริโภคอาหาร และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้นเราควรลด หลีกเลี่ยง และควบคุมปริมาณน้ำตาล หรือความหวานของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงในระยะยาวนั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำนี้สามารถใช้ได้กับทุกคน ยกเว้นคนที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว เนื่องจากการประเมินกลุ่มนี้อยู่นอกเหนือขอบเขตข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานั่นเองค่ะ

“สารแทนความหวาน” ชนิดไหนที่ไม่ดีต่อร่างกาย

ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก “สารแทนความหวาน” หมายรวมถึง สารสังเคราะห์ทั้งหมด ที่อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือดัดแปลงขึ้นมาก็ได้ สามารถได้ทั้งในอาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตขาย หรือเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเติมลงในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งได้แก่

• สารเอซีซัลเฟม เค (acesulfame K)
• แอสพาร์เทม (aspartame)
• แอดแวนเทม (advantame)
• โซเดียมไซคลาเมต (cyclamates)
• นีโอแตม (neotame)
• แซ็กคาริน หรือ ขัณฑสกร (saccharin)
• ซูคราโตส (sucralose)
• หญ้าหวาน (stevia)
• อิริทริทอล (Erythritol)

โดยคำแนะนำดังกล่าวนี้ มีขึ้นหลายเดือนหลังจากมีผลการวิจัยพบว่า การทดสอบในคนสหรัฐอเมริกาและยุโรปกว่า 4,000 คนพบว่า ผู้ที่มีระดับสารแทนความหวานอิริทรินอล (Erythritol) ที่ใช้ใส่ในอาหารเพื่อให้ความหวานแก่ผลิตภัณฑ์อาหารแคลอรี่ต่ำและอาหารเพื่อสุขภาพคีโต มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง มากกว่ากลุ่มที่มีระดับสารแทนความหวานดังกล่าวต่ำ

ผลการวิจัยข้างต้นนี้ ถือเป็นผลการศึกษาที่ตรงกันข้ามผลการวิจัยเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง ที่พบว่าสารแทนความหวานอิริทรินอล (Erythritol) นั้นปลอดภัย จนมีกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ทั่วโลกในอาหารและเครื่องดื่มนั่นเองค่ะ

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดการบริโภคน้ำตาลไว้ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา อีกทั้งยังควรควบคุมสารอาหารประเภทแป้ง โซเดียม ไขมัน และแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้หากรับประทานมากเกินไปก็ก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน หากรู้สึกว่าตนเองเครียด ก็ควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุจะดีที่สุดนะคะ ควรนอนหลับพักผ่อน วางแผนการทำงานให้ดีขึ้น หรือการไปออกกำลังกายก็จะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง และสดชื่นขึ้นได้ค่ะ

 

 

สำหรับใครที่ชอบรับประทานของที่มีรสชาติหวานมากๆ หรือจะเรียกว่า ติดหวานนั้น ก็ควรพยายามลดด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวนั่นเองค่ะ ลดหวาน ลดโรค นะคะ ต่อไปมาลองดู วิธีลดหวานให้ร่างกายกันบ้างดีกว่าค่ะ

 

วิธี ลดหวานแบบไม่ทรมานใจ แถมช่วยลดโรคได้

 

1. ลดหวานแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักดิบ
2. ลดการซื้อขนมหวาน หรือเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
3. น้ำเปล่าลดความอยากของหวาน
4. กินผักใบเขียว ลดอาการโหยของหวาน
5. กินอาหารให้หลากหลาย ก็ช่วยลดอาการอยากหวานได้
6. ลดหวานได้ง่ายๆ ด้วยการจดบันทึก
7. หากิจกรรมดึงความสนใจออกจากของหวาน
8. ออกกำลังกายช่วยให้ต่างกายสดชื่น

 

ที่มา : CBS NEWS