บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง สัญญาณเตือน หยุดหายใจขณะหลับ อันตรายกว่าที่คิดกันนะคะ สำหรับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) นั้น เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับนะคะ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายและอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาจนถึงเสียชีวิตได้เลยนะคะ สภาวะนี้สามารถพบได้ในทุกอายุ โดยมักจะพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือกลุ่มคนที่น้ำหนักตัวมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่สังเกตถึงความผิดปกติในขณะหลับของตนเอง บ่อยครั้งที่ผู้พบความผิดปกติเป็นคู่สมรสหรือคนใกล้ชิดค่ะ
ภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ อันตรายที่ไม่สมควรมองข้าม
กรมการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลว่า “ในช่วงการนอนหลับ สมองไม่ได้หยุดทำงาน แต่เป็นช่วงจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ” โดย ภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ ถูก เชื่อมโยงความจำระยะสั้นให้เป็นระยะยาว จัดระเบียบความคิด การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ออกซิเจนในกระแสเลือดลดต่ำลง หล่อเลี้ยงอวัยะต่างๆ ไม่เพียงพอ สมองจะมีการตรวจจับระดับออกซิเจน และสั่งการกระตุ้นให้ตื่นตัว เพื่อให้หายใจรับออกซิเจน ทำให้คนนอนกรนมีช่วงการหลับลึกสั้น เป็นการหลับระยะตื้นๆ อยู่ตลอด หากปล่อยไว้นาน นอกจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง ยังเพิ่มโอกาสการเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้น”อีกด้วยค่ะ การนอนกรนดังประจำ เสี่ยงหัวใจหยุดเต้น
ทั้งนี้ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการยุบตัว ของทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ขณะหลับร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ การนอนหลับจะขาดตอน ส่งผลต่อการทำงานของสมองจนเกิดอาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน และเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนลงพุง ได้ ภาวะเช่นนี้ พบได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยทอง และคนอ้วน หรืออาจพบในเด็กที่มีต่อมทอนซิล และอะดีนอยด์โต จากปัญหาโครงสร้างใบหน้า หรือเด็กที่อ้วน
สัญญาณเตือนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
– สังเกตจากการนอนกรนเสียงดังเป็นประจำ หายใจแรง เสียงดังเป็นพักๆ สลับนิ่งเงียบ
– หายใจเฮือกเหมือนสำลักน้ำลาย
– บางครั้งตื่นมารู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก
– ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
– ไม่มีสมาธิในการทำงาน
– ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย วิตกจริต หรือซึมเศร้า ทั้งนี้
หากมีอาการ ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และหาแนวทางการรักษา โดยด่วนเลยนะคะ
อาการ หยุดหายใจขณะหลับ
อาการที่บ่งบอกว่าคุณมีภาวะอาการหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเช็กได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบางบุคคลยากที่จะระบุอาการได้ ว่ามีอาการหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้นควรพบแพทย์เมื่อมีอาการข้างต้นดังกล่าว 2-3 ข้อขึ้นไป
• นอนกรนเสียงดังมาก และกรนดังเป็นประจำ จนเกิดความรำคาญต่อผู้ที่นอนร่วมด้วย
• มีลักษณะของการกรนแล้วหยุดเป็นพักๆ ตามด้วยอาการเหมือนสำลักขณะนอนหลับ
• หายใจติดขัด หายใจแรง เวลานอน
• รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นบ่อย
• ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น มีอาการปวดศีรษะ
• ง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน เช่น ขณะทำงาน หรือหลับในขณะขับรถ
• รู้สึกหงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ดีบ่อยๆ
• ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม
• ความรู้สึกทางเพศลดลง
กลุ่มเสี่ยง ภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ
1. โรคอ้วน
2. ผู้ที่มีต่อมทอนซิลโต
3. ผู้ที่มีริดสีดวงจมูก
4. ผู้ที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป
5. ผู้ที่มีคางสั้น คอสั้น ปากเล็ก ลิ้นโต หน้าแบน
6. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง 3
วิธีง่าย ๆ ช่วยป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยตนเอง
• ดูแลน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน ทั้งการทานของที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเล่นโยคะสามารถช่วยพัฒนาระบบหายใจได้
• เปลี่ยนท่านอนให้ถูกต้อง ท่านอนที่ช่วยเลี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ให้พยายามนอนตะแคงเพราะสามารถช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น
• งดแอลกอฮอล์และบุหรี่ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดความผิดปกติ หรือบวมขึ้นจนเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะนี้มีขั้นตอนและวิธีการรักษาหลายรูปแบบทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับระดับอาการ และความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับแต่ละรายด้วย ดังนี้
• การปรับพฤติกรรม ทำได้ด้วยการดูแลให้น้ำหนักอยู่ในระดับมาตรฐาน พยายามอย่านอนหงายนอนให้ระดับศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัว นอนพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามเลี่ยงยาที่ส่งผลให้เกิดอาการง่วงนอน เพราะจะมีผลต่อสมองส่วนกลาง งดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
• รักษาจากโรคต้นเหตุ หากพบว่ามีโรคร้ายที่เป็นเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ เยื่อบุจมูกอักเสบ โรคที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อหรือระบบประสาท เป็นต้น
• รักษาด้วยเครื่องมือ ผ่านเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Continuous Positive Airway Pressure) หรือ CPAP เพื่อค้ำการหย่อนของกล้ามเนื้อบริเวณช่องคอจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือใส่เครื่อง Oral Appliance ในช่องปากเพื่อปรับขากรรไกรช่วยให้ทางเดินหายใจมีพื้นที่มากขึ้น
• รักษาผ่านการผ่าตัด การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะทำได้ก็ต่อเมื่อผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว โดยจุดประสงค์ของการผ่าตัดคือทำให้ระบบทางเดินหายใจมีพื้นที่กว้างขึ้น หรือลดการหย่อนลง เช่น การผ่าตัดจมูก การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน หรือการผ่าบริเวณคอหอย เป็นต้น
ที่มา : กรมการแพทย์