บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง เครดิตบูโร VS.แบล็กลิสต์ ที่หลายคนมักเข้าใจผิดกันนะคะ ในโลกของการเงิน หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “เครดิตบูโร” และ “แบล็กลิสต์” กันอยู่บ่อยครั้งเลยนะคะ แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจว่า ทั้งสองคำนี้แตกต่างกันยังไง แล้วมีผลเกี่ยวข้องกับชีวิตการเงินอย่างไรบ้าง พร้อมแล้วตามมาดูคำตอบกันได้เลยค่ะ
บางคนสงสัย ทำไมถึงไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ทั้งที่ไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ หรือ ทำไมบางครั้งการขอสินเชื่อกลับถูกปฏิเสธเพียงแค่เหตุผลว่า “ติดเครดิตบูโร” ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่า การเข้าใจผิดเกี่ยวกับเครดิตบูโรและแบล็กลิสต์ ต่างๆนาๆ ทำให้หลายคนตกอยู่ในความกังวลโดยไม่จำเป็น เพราะ หลายคนเข้าใจผิดว่า เครดิตบูโร = แบล็กลิสต์ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้นนะคะ เครดิตบูโร คือ รายงานประวัติการชำระหนี้ของเรา ขณะ แบล็กลิสต์ ก็ไม่ใช่คำที่ใช้ในระบบการเงินจริงๆ แต่หมายถึงคนที่มีประวัติหนี้เสีย จนอาจถูกปฏิเสธสินเชื่อ
สรุปเรื่อง เครดิตบูโร VS.แบล็กลิสต์ ที่หลายคนมักเข้าใจผิด
1. ความแตกต่างในด้านความหมาย
เครดิตบูโร คือ หน่วยงานเก็บข้อมูลเครดิตลูกหนี้
แบล็กลิสต์ คือ คำเรียกกลุ่มคนที่มีประวัติการเงินไม่ดี
2. ความแตกต่างในด้านผู้จัดทำ
เครดิตบูโร ผู้จัดทำได้แก่ศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB)
แบล็กลิสต์ ไม่มีหน่วยงานจัดทำอย่างเป็นทางการ
3. ความแตกต่างในด้านหน้าที่
เครดิตบูโร มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลการชำระหนี้
แบล็กลิสต์ ไม่มีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
4. ความแตกต่างในด้านการพิจารณาสินเชื่อ
เครดิตบูโร ใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
แบล็กลิสต์ การถูกปฏิเสธสินเชื่อมักเกิดจากคุณสมบัติไม่ครบ หรือประวัติชำระหนี้เสีย
5. ความแตกต่างในด้านข้อมูลย้อนหลัง
เครดิตบูโร เก็บประวัติ 3 ปี
แบล็กลิสต์ ไม่มีข้อมูลเก็บย้อนหลัง
6. ความแตกต่างในด้านการแก้ไข
เครดิตบูโร ยื่นขอแก้ไขข้อมูลได้
แบล็กลิสต์ ไม่มีให้แก้ไข
7. ความแตกต่างในด้านการตรวจสอบ
เครดิตบูโร ตรวจสอบได้ผ่านศูนย์เครดิตบูโร
แบล็กลิสต์ ไม่มีข้อมูลตรวจสอบ
วิธีแก้ไข ประวัติเครดิตบูโร
– ยื่นขอตรวจสอบประว้ติการชำระหนี้และขอแก้ไขเมื่อพบข้อผิดพลาด
– ผ่อนชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพื่อปรับปรุงประวัติการเงิน
– รีไฟแนนซ์ขอสินเชื่อใหม่ดอกเบี้ยต่ำมาโปะหนี้เก่า
– หากชำระหนี้ครบ 3 ปี ข้อมูลจะหายไป จากระบบเครดิตบูโร
วิธีแก้ไขประวัติแบล็กลิสต์
– วางแผนชำระหนี้ รวบรวมหนี้ทั้งหมด ชำระตรงเวลา และเก็บหลักฐานเพื่อขอสินเชื่อในอนาคต
– เจรจากับเจ้าหนี้ ขอปรับโครงสร้างนี้ เช่น ลดดอกเบี้ย หรือ แบ่งชำระ ขาย หรือปล่อยเช่าสินทรัพย์ใหญ่ เช่น รถยนต์ หรือ บ้าน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน
– หากเป็นหนี้เสีย ให้เจรจาลดหนี้ เพื่อเริ่มต้นใหม่
สรุปแล้ว การคิดว่า เครดิตบูโร คือ การถูกแบล็กลิสต์ เป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ เพราะความจริงแล้วเครดิตบูโรคือการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเงินของเรา เพื่อตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ ส่วนแบล็กลิสต์คือสถานะที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้เพราะมีการผิดนัดชำระหนี้อย่างต่อเนื่องนั่นเองค่ะ
ที่มา : เครดิตบูโร ,AEON