ในช่วงนี้เรียกได้ว่าเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลยื่นภาษีกันแล้วนะคะ สำหรับมนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานออฟฟิศทั้งหลาย ซึ่งในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็น...90 หรือ...91 ก็ตามนะคะ สามารถทำการยื่นได้ที่สรรพากรในพื้นที่ และผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วยนะ  และนอกจากที่สรรมพากรจะอนุญาตให้เรายื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ได้ แล้วสรรพากรยังอนุญาตให้เราเช็กสถานะการขอคืนภาษีได้ด้วยตัวเองอีกด้วยนะคะ โดยผ่านทาง3 ช่องทางด้วยกันเลยค่ะ  มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าเราสามารถขอตรวจสอบสถานการณ์ขอคืนภาษีได้ผ่านช่องทางไหนบ้างนะคะ

 

 

ช่องทางการตรวจสอบขอคืนเงินภาษี

1. เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

 

 

ช่องทางแรกที่สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วก็คือผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรนั่นเองค่ะ

  • โดยให้คลิกเข้าไปที่เว็บไซต์http://www.rd.go.th
  • จากนั้นเข้าไปที่ตรวจสอบผลการขอคืน(e-Refund)”
  • จากนั้นเลือกปีภาษีที่ต้องการขอตรวจสอบ
  • และกรอกข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและข้อมูลอื่นตามที่เว็บไซต์ให้กรอก
  • จากนั้นก็กดสอบถามระบบก็จะแสดงรายละเอียดให้เราได้ตรวจสอบ

 

2. Call Center

 

 

สำหรับใครที่ไม่สะดวกตรวจสอบออนไลน์ สามารถโทรไปสอบถามได้ที่  Call Center ของสรรพากรเพื่อขอตรวจสอบก็ได้เช่นกันค่ะ โดยสามารถโทรไปสอบถามได้ที่เบอร์  เบอร์ 1161 ซึ่งเป็นเบอร์ของศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (RD  Call  Center)นั่นเองค่ะ

 

3. สำนักงานสรรพากรในพื้นที่

 

 

สำหรับใครที่ยื่นภาษีด้วยการส่งเอกสาร กับสำนักงานสรรพากรในพื้นที่ตามภูมิลำเนา และอยากตรวจสอบสถานะขอคืนเงินภาษี ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะได้ที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ตามภูมิลำเนา ที่ได้เดินเข้าไปยื่นภาษีได้เลยนะคะ

 

กรณียังไม่ได้รับคืนเงินภาษี

เมื่อทำการยื่นภาษีแล้ว สรรพากรจะดำเนินการตามคำร้องขอคืนภาษีให้ ตามขั้นตอนซึ่งสรรพากรก็อาจจะมีการเรียกขอดูเอกสารเพิ่มเติมได้ และแต่หากผ่านขั้นตอนต่างทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้คืนเงินภาษี ซึ่งโดยมากมักเกิดขึ้นกับกรณีที่เลือกรับเงินคืนเป็นเช็ค อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่อยู่หรือเหตุผลอื่นซึ่งสรรพากรก็เปิดโอกาสให้ขอรับเช็คใหม่ได้ โดยสามารถยื่นเรื่องกับสำนักงานสรรพากรในพื้นที่ และที่สำคัญคืออย่าลืมเตรียมเอกสารยื่นขอรับเช็คไปด้วยนะคะ โดยเอกสารที่ต้องใช้แบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน ดังนี้เลยค่ะ

1. กรณีผู้ขอคืนภาษีไปยื่นเรื่องเอง

  • ใช้บัตรประชาชนตัวจริง
  • พร้อมกับสำเนาของผู้ยื่นขอคืน

2. กรณีผู้ขอคืนภาษีไปเองไม่ได้และต้องการให้คนอื่นไปดำเนินการแทนให้เตรียมเอกสารดังนี้

  หนังสือมอบอำนาจ

  สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอคืนภาษี(ผู้มอบอำนาจ)

  บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนาของผู้รับมอบอำนาจ

 

กรณีได้เช็คเงินคืนภาษีไม่ตรงกับที่ปรากฏบนเว็บไซต์กรมสรรพากร

ในกรณีที่สรรพากรจ่ายเช็คเงินคืนภาษีมาแล้ว แต่ยอดเงินที่ได้ไม่ตรงกับที่ปรากฏบนเว็บไซต์กรมสรรพากร อาจเกิดจากการที่ผู้ขอคืนภาษียื่นแบบมากกว่า 1 ฉบับ ทำให้ตัวเลขหรือยอดเงินที่ได้คืน มีความคาดเคลื่อนซึ่งอาจจะได้เงินคืนลดลง หรือเพิ่มขึ้นก็จะแล้วแต่กรณีไปค่ะ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ให้ดำเนินการติดต่อกับสำนักงานสรรพากรในพื้นที่ เพื่อทำการคืนเช็คพร้อมตรวจสอบ และแก้ไขเช็คให้ถูกต้องต่อไปนะคะ

 

กรณีขึ้นเช็คไม่ได้เช็คหายหรือธนาคารไม่รับเช็ค

หากได้รับเช็คเงินคืนภาษีมาแล้ว แต่เกิดทำเช็คหายหรือชื่อนามสกุลในเช็คผิดพลาดไม่ตรงกับชื่อจริง หรือเช็คมีอายุเกิน6 เดือน ซึ่งอาจทำให้ธนาคารปฏิเสธไม่รับเช็ค หรือเอาเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ คุณสามารถเข้าไปยื่นคำร้องขอรับเช็คใหม่ได้ โดยเดินเข้าไปติดต่อที่สรรพากรในพื้นที่เพื่อทำการยื่นคำร้อง  พร้อมกับเตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำร้องดังนี้เลยค่ะ

1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอคืนภาษีพร้อมสำเนา

2. หนังสือแจ้งความ(กรณีเช็คสูญหาย)

3. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล(กรณีชื่อไม่ตรงเพราะเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล)

4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอคืนภาษีและบัตร

ประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนาของผู้รับมอบอำนาจ(ในกรณีที่ผู้ขอคือภาษีมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)

 

กรณีไม่เห็นด้วยกับยอดเงินคืนภาษีที่ได้รับ

กรณีที่ทำการยื่นขอคืนเงินภาษีไปแล้ว และได้ทราบยอดเงินคืนภาษีแต่พบว่ายอดคืนภาษีไม่ตรงกับยอดที่ยื่นไปที่ควรจะได้รับ และคุณไม่เห็นด้วย สามารถแย้งเรื่องนี้ได้ผ่านการอุทธรณ์กับกรมสรรพากร  โดยให้จัดทำหนังสืออุทธรณ์ โดยชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมด พร้อมกับแนบเอกสารประกอบเพื่อเป็นหลักฐานซึ่งทั้งหมดนี้ จะต้องทำการอุทธรณ์ภายในระยะเวลา15 วันหลังจากได้รับหนังสือ.30 นะคะ

 

 

ขอให้ทุกคน ที่ทำการยื่นขอคืนเงินภาษีลองตรวจสอบสถานะการขอคืนเงินภาษี หรือแม้แต่ยอดเงินที่จะได้ของคุณเองให้ดีด้วยนะคะ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องและเพื่อที่คุณจะได้ไม่พลาดสิทธิที่ควรจะได้รับของคุณเองด้วยค่ะ และหากพบว่าเกิดข้อผิดพลาดใดๆขึ้นแล้ว จะได้ยื่นขออุทธรณ์ได้ทันท่วงทีนั่นเองค่ะ และในการยื่นภาษีในครั้งต่อๆไปของคุณ จะได้ไม่ผิดพลาดและเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุดด้วยเช่นกันค่ะ