กยศ. คืนเงินลูกหนี้ หลังคำนวนยอดหนี้ใหม่ รับคืนผ่านพร้อมเพย์นะคะ ข่าวดีสำหรับลูกหนี้ กยศ. มาแล้วค่ะ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ยืนยันข้อมูล ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องลูกหนี้ กยศ. สามารถลงทะเบียนขอรับเงินคืนผ่านเว็บไซต์ หลัง กยศ. คำนวณยอดหนี้ใหม่ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง นะคะ
โดยระบุว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดให้ผู้กู้ยืมลงทะเบียนขอรับเงินคืน กรณีที่มีการชําระเงินเกินจากการคํานวณหนี้ใหม่ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่2) พ.ศ. 2566 โดยนํารายการชําระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินแต่ละรายที่ได้ชําระเงินคืนกองทุนฯ นับแต่วันที่ครบกําหนดชําระหนี้ครั้งแรกมาคํานวณหนี้ใหม่ ตัดชําระเงินต้นเฉพาะส่วนที่ครบกําหนด ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับตามลําดับ คิดดอกเบี้ยในอัตรา 1% ต่อปี และคิดเบี้ยปรับ ในอัตรา 0.5% ต่อปี ส่งผลให้กู้ 2.8 ล้านราย มียอดหนี้ลดลง อีก 177,936 ราย จะได้รับเงินคืนรวมเป็นเงินที่ กยศ. ต้องจ่ายคืนกว่า 2,100 ล้านบาท
โดยกองทุนฯ ได้มีการออกหนังสือแจ้งผู้กู้ยืมแต่ละรายให้ลงทะเบียนรับเงินคืน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 และจะดําเนินการจ่ายเงินคืนผ่านระบบโอนเงินแบบพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีธนาคารด้วยเลขบัตรประจําตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเท่านั้น ซึ่งมีความปลอดภัยและตรวจสอบได้แน่นอนค่ะ อย่างไรก็ตาม ผู้กู้ยืมสามารถเข้าระบบตรวจสอบภาระหนี้ที่คํานวณใหม่และลงทะเบียนขอรับเงินคืนได้ที่เว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th นะคะ
วิธีตรวจสอบยอดหนี้ใหม่ สำหรับลูกหนี้ กยศ.
– เข้าเว็บไซต์ studentloan.or.th – เลือกเมนู “ตรวจสอบคำนวณยอดหนี้ใหม่”
– กรอกข้อมูลตามบัตรประชาชน
– กดยืนยันการลงทะเบียน
วิธีลงทะเบียนขอรับเงินคืน
– เข้าเว็บไซต์ studentloan.or.th
– เลือกเมนู “ลงทะเบียนขอรับเงินคืน กรณีคำนวณหนี้ใหม่”
– กรอกข้อมูลเลขบัตรประชาชน
– กดยืนยันการลงทะเบียน
อย่างไรก็ตาม การคำนวณยอดหนี้ใหม่ข้างต้นเป็นการคำนวณหนี้โดยไม่ใช้ระบบ กยศ. Connect ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 66 โดยได้นำรายการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินแต่ละรายที่ได้ชำระเงินคืนกองทุนฯ นับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกมาคำนวณหนี้ใหม่ตัดชำระเงินต้นเฉพาะส่วนที่ครบกำหนด ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับตามลำดับ คิดดอกเบี้ยในอัตรา 1% ต่อปี และคิดเบี้ยปรับในอัตรา 0.5% ต่อปี หากผู้กู้ยืมประสงค์จะปรับโครงสร้างหนี้ กองทุนฯจะใช้ยอดหนี้ที่ได้คำนวณใหม่นี้ในการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อปลดภาระผู้ค้ำประกันให้พ้นจากความรับผิด และเมื่อระบบ กยศ.Connect ปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์แล้ว ยอดหนี้ทั้งหมดจะถูกปรับโดยอัตโนมัติและจะแสดงในแอปพลิเคชัน กยศ.Connect ต่อไปนะคะ
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย